Page 82 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 82

รายงานการศึกษาวิจัย  67
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                                          บทที่ 3


                       กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว


                        เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแหงกฎหมายไทยหลายฉบับแลวพบวา ไดมีการกําหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการ

               รับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัวไวในกฎหมายหลายฉบับ ตั้งแตรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
               และกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ สามารถแบงตามประเภทแหงสิทธิ ไดดังนี้



               3.1 ประเภทของสิทธิในความเปนอยูสวนตัว สามารถแบงออกไดเปน 4 ประเภท และมีรายละเอียด ดังนี้

                        3.1.1   สิทธิในความเปนอยูสวนตัวเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคล
                              1)   รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35

                                  สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเปนอยูสวนตัว ยอมไดรับ
               ความคุมครอง

                                  การกลาวหรือไขขาวแพรหลายซึ่งขอความหรือภาพไมวาดวยวิธีใดไปยังสาธารณชน
               อันเปนการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเปนอยูสวนตัว

               จะกระทํามิได เวนแตกรณีที่เปนประโยชนตอสาธารณะ
                                  บุคคลยอมมีสิทธิไดรับความคุมครองจากการแสวงประโยชนโดยมิชอบจากขอมูล

               สวนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
                         2)   ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 322 – 323)

                                  มีสาระสําคัญเปนการคุมครองขอมูลขาวสารสวนบุคคลในลักษณะความผิดฐาน
               เปดเผยความลับ ซึ่งเปนการกําหนดความผิดกับผูประกอบวิชาชีพที่ลวงรูความลับ เช น แพทย พยาบาล นักบวช

               ทนายความ ผูสอบบัญชี ผูรับการอบรมในอาชีพ ที่เปดเผยความลับ
                          3)   ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย (มาตรา 420 มาตรา 422 และมาตรา 423)

                                     มีสาระสําคัญเกี่ยวกับความรับผิดวาดวยละเมิดในทางแพง อันเปนกรณีที่บุคคลหนึ่ง
               ไดลวงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น จนกอใหเกิดความเสียหายในเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือสิทธิอื่นใดตามที่กฎหมาย

               บัญญัติรับรองและคุมครองให
                          4)   พระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของราชการ พ.ศ. 2540

                                  มีสาระสําคัญเปนการกําหนดใหประชาชนมีสิทธิไดรูขอมูลขาวสารของราชการ โดยมี
               ขอยกเวนอันไมตองเปดเผยที่แจงชัด และจํากัดเฉพาะขอมูลขาวสารที่หากเปดเผยแลวจะเกิดความเสียหาย

               ตอประเทศชาติหรือตอประโยชนที่สําคัญของเอกชน  และกําหนดมาตรการคุมครองสิทธิสวนบุคคลในสวนที่
               เกี่ยวของกับขอมูลขาวสารของราชการ
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87