Page 75 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 75
60 รายงานการศึกษาวิจัย
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
แกผูที่เกี่ยวของ และใหการควบคุมโดยองคกรของรัฐที่ไดรับมอบอํานาจจากประชาชนแทนที่การรองขอตอศาล”
บทบัญญัตินี้เองและการใชบังคับกฎหมายภายในที่ตราขึ้นตามกฎหมายฉบับนี้ที่ผูรองกลาวอางวาขัดตอขอ 8
ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ
ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนวินิจฉัยเปนประการแรกวา การติดตอทางโทรศัพท
(les communications téléphoniques) รวมอยูในสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลเกี่ยวกับการติดตอทางจดหมาย
ที่จะตองไดรับความคุมครองตามขอ 8 วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ ศาลไดวินิจฉัยตอไปวาบทบัญญัติ
แหงกฎหมายสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีลงวันที่ 13 สิงหาคม 1968 เปนไปตามเงื่อนไขตาง ๆ ที่กําหนดไว
ในวรรคสองของขอ 8 หรือไม ทั้งนี้ การตีความขอยกเวนตามวรรคสองของขอ 8 นั้นจะตอง “ตีความโดยเครงครัด”
77
(une interprétation étroite) ศาลไดพิจารณาวาการดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐในการดักฟงขอมูล
ทางโทรศัพทมีกฎหมายกําหนดรองรับ อีกทั้งเปนไปเพื่อวัตถุประสงคที่กําหนดไวโดยเครงครัด เนื่องจากกฎหมาย
ดังกลาวไดกําหนดใหดําเนินมาตรการดังกลาวเพื่อตอสูกับภยันตรายหรือปกปองความสงบสุข และการดํารงอยู
หรือความปลอดภัยแหงสหพันธรัฐและประเทศ ซึ่งสอดคลองกับการรักษาความมั่นคงแหงรัฐ การรักษาความสงบ
เรียบรอยและการปองกันการกระทําความผิดทางอาญาตามที่บัญญัติไวในวรรคสองของขอ 8 ของอนุสัญญา
แหงยุโรปฯ
ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนไดพิจารณาตอไปวาการดําเนินมาตรการดังกลาวตามที่
กฎหมายสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีกําหนดนั้นเปนไปตามเงื่อนไขประการที่สาม ตามขอ 8 วรรคสอง กลาวคือ
มาตรการนั้นเปนสิ่งจําเปนในสังคมประชาธิปไตยตอการทําใหบรรลุวัตถุประสงคนั้นหรือไม ในประเด็นนี้
ศาลเห็นวาในสังคมประชาธิปไตยในปจจุบันถูกคุกคามโดยการจารกรรมในรูปแบบที่สลับซับซอน (des formes
très complexe d’espionnage) และโดยการกอการราย (le terrorisme) และเพื่อตอสูกับภัยคุกคามตาง ๆ
อยางมีประสิทธิภาพ รัฐจึงควรที่จะสามารถเฝาสังเกตการณในทางลับปจจัยตาง ๆ ที่อาจกระทบตอความสงบ
เรียบรอยที่เกิดขึ้นในเขตแดนของตนได ดังนั้น จึงตองหาดุลยภาพระหวางการใชสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล
ที่ไดรับการคุมครอง ตามวรรคหนึ่งของขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ และความจําเปนที่จะตองดําเนินการ
เฝาสังเกตการณในทางลับ เพื่อคุมครองสังคมประชาธิปไตยโดยสวนรวม ศาลเห็นวายังไมเปนการเพียงพอ
ที่มาตรการเฝาสังเกตการณจดหมาย (la mesure de surveillance de la correspondance) ตามที่กฎหมาย
สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีกําหนดนั้นตองเปนไปตามเงื่อนไขประการที่สาม ตามวรรคสองของขอ 8 เทานั้น
หากแตการดําเนินมาตรการดังกลาวยังจะตองอยูภายใตการตรวจสอบควบคุม (l’objet d’un contrôle) อีกดวย
ในสวนที่วามาตรการเชนนั้นเปนสิ่งจําเปนในสังคมประชาธิปไตยตอวัตถุประสงคที่มุงหมาย
หรือไมนั้น ศาลเห็นวา ตามกรณีที่รองเรียน มาตรการการดักฟงขอมูลทางโทรศัพทใชบังคับกับบุคคลบางประเภท
เทานั้น ซึ่งมีสิ่งที่บงบอก (d’indices) ถึงความตองสงสัยวาบุคคลนั้นจะกระทําหรือไดกระทําความผิดทางอาญา
ที่รายแรงตอความสงบเรียบรอยหรือความมั่นคงของรัฐซึ่งตอง โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรการดังกลาว
จะชอบดวยกฎหมายก็ตอเมื่อไมสามารถที่จะไดขอเท็จจริงมาโดยวิธีการอยางอื่น หรือเปนการยากอยางมาก
ที่จะแสวงหาหลักฐานที่เกี่ยวของกับการนั้นได
77 § 38 à 40 de l’arrêt Crémieux c/ France, 55 à 57 de l’arrêt Funke.