Page 71 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 71

56     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





              พิจารณาวาการดําเนินการดังกลาวเปนการกระทําที่มีวัตถุประสงคที่ชอบดวยกฎหมาย (un but légitime)
              แตจะเปนการกระทําที่มีกฎหมายบัญญัติใหกระทําไดหรือไมนั้น ในความเห็นของศาล การกระทําที่มีกฎหมาย
              บัญญัติไวใหกระทําไดนั้นจะตองมีฐานทางกฎหมายภายใน (une base en droit interne) ซึ่งผูที่เกี่ยวของนั้น

              สามารถเขาถึงได หรือตรวจดูได (accessibilité) และผูที่เกี่ยวของนั้นคาดหมายถึงผลที่อาจเกิดขึ้น

              ในสวนที่เกี่ยวของกับตนเปนการลวงหนาได (prévisibilité) ศาลจึงพิจารณาวาการตรวจสอบทางลับเกี่ยวกับ
              ขอมูลการกระทําความผิดทางอาญาของเจาหนาที่ที่ไดรับมอบหมายใหรับผิดชอบในตําแหนงสําคัญเกี่ยวกับ
              ความมั่นคงของรัฐ เงื่อนไขเกี่ยวกับการคาดหมายไดลวงหนาดังกลาวนั้น มิอาจนํามาใชบังคับไดในลักษณะ

              อยางเดียวกันกับสถานการณหรือบริบทอื่น แตอยางไรก็ตาม กฎหมายจะตองใชถอยคําที่คอนขางชัดเจน

              เพียงพอที่จะทําใหเห็นเงื่อนไขตาง ๆ ของการแทรกแซงในทางลับของฝายปกครองตอสิทธิในชีวิตสวนตัว
              ของบุคคล ดังนั้น ศาลจึงวินิจฉัยวารัฐกําหนด เกี่ยวกับการตรวจสอบเจาหนาที่ (l’ordonnance sur le contrôle
              du personnel) ที่รัฐบาลออกโดยอาศัยอํานาจของฝายบริหารและซึ่งประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา

              ยอมเปนฐานทากฎหมายที่อางอิงได (une base solide) ผูที่เกี่ยวของทั้งหลายยอมเขาถึงได และทําใหบุคคล

              เหลานั้นสามารถคาดหมายลวงหนาอยางเพียงพอเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดขึ้นแกบุคคลเหลานั้น นอกจากนี้
              รัฐกําหนดดังกลาวยังไดกําหนดเกี่ยวกับลักษณะของขอมูลที่จัดเก็บไวในทะเบียนซึ่งสามารถเปดเผย
              แกฝายปกครองได และวิธีดําเนินการในการเปดเผยขอมูลนั้น กลาวคือ คณะกรรมการตํารวจแหงชาติ

              (le Conseil national de la police) เปนผูพิจารณากําหนดใหเปดเผยขอมูลไดหรือไม อยางไร

                                 ในตอนทาย ศาลยังไดพิจารณาปญหาวาการกระทําการอันเปนการแทรกแซงสิทธิ
              ในชีวิตสวนตัวของบุคคลที่มีกฎหมายบัญญัติใหกระทําไดดังกลาวขางตนนั้น เปนสิ่งจําเปนในสังคมประชาธิปไตยตอ
              ความปลอดภัยของประชาชนหรือไมอีกดวย เพื่อการวินิจฉัยของศาล ศาลจําตองทําการชั่งนํ้าหนัก (mettre

              en balance) ระหวางประโยชนของรัฐ (l’intérêt de l’Etat) อันเกี่ยวกับการคุมครองความปลอดภัยแหงรัฐ

              กับความรายแรงแหงผลกระทบตอสิทธิของผูรองหรือผูที่เกี่ยวของที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวของตน
              และศาลยอมรับวารัฐมีอํานาจอยางกวางขวางในการใชดุลพินิจเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับความจําเปน เพื่อ
              ความปลอดภัยและมาตรการที่จําเปนที่จะดําเนินการเพื่อคุมครองความปลอดภัยนั้น ดวยเหตุผลประการตาง ๆ

              ดังกลาวขางตน ศาลจึงวินิจฉัยวาในกรณีดังกลาวไมเปนการฝาฝนหรือละเมิดขอกําหนดขอ 8 ของอนุสัญญา

              แหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
                             2)   กรณีการจัดเก็บขอมูลเกี่ยวกับการกระทําความผิดทางอาญาของบุคคล
              (la conservation de dossiers relatifs à des affaires pénales)

                                 แมวาคณะกรรมาธิการแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนจะไดเคยวินิจฉัยวาสิทธิในชีวิตสวนตัว

              ตามขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะครอบคลุมถึง
              การคุมครองขอมูลสวนบุคคลดวย (la protection des données à caractère personnel) ดวย แตอยางไรก็ตาม
              ในคดีนี้ คณะกรรมการฯ เห็นวาการจัดเก็บขอมูลเกี่ยวกับการกระทําความผิดทางอาญาของบุคคล

              ซึ่งประกอบดวย เอกสาร ภาพถาย และลายพิมพนิ้วมือ (des empreintes digitales) ของบุคคลที่เกี่ยวของอยูดวย

              เปนไปตามเงื่อนไขที่กําหนดไวในวรรคสองของขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76