Page 69 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 69
54 รายงานการศึกษาวิจัย
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
1) สภาพของการควบคุมในเรือนจํา
สภาพของเรือนจําเปนองคประกอบสําคัญในการดํารงชีพของผูตองขัง ซึ่งมาตรา 8
แหงรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ไดบัญญัติหามการลงโทษที่ทารุณโหดรายผิดปกติ รวมทั้งการอางบทแกไข
รัฐธรรมนูญมาตรา 14 ประกอบดวย ประเด็นที่นักโทษฟองเจาพนักงานและเรือนจํามากที่สุด ไดแก การกระทํา
การทารุณกรรมทางรางกาย สภาพของหองขังเดี่ยว การลงโทษที่ปราศจากเหตุผลที่เหมาะสม นักโทษถูกทําราย
รางกายจากนักโทษอื่นโดยเจาหนาที่มิไดคุมครอง และการไมไดรับการรักษาพยาบาล
ในปจจุบันหลักประกันตามมาตรา 8 มีขอบเขตครอบคลุมการปฏิบัติตอผูตองขัง ดังนี้
(ก) การลงโทษอาจถือไดวาทารุณโหดรายและผิดปกติถาการกระทํานั้นไรมนุษยธรรม
ในตัวเองหรือ “กระทบกระเทือนตอจิตสํานึก” ตามความหมายที่บัญญัติไวในบทแกไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 8
(ข) การลงโทษอาจถือไดวาทารุณโหดรายและผิดปกติ และฝาฝนบทแกไขมาตรา 8
ไดถาการลงโทษนั้นไมไดสัดสวนกับความผิดที่ถูกลงโทษ หรือนัยหนึ่งการลงโทษนั้นรุนแรงเกินกวาความผิด
ที่ไดกระทํา
(ค) ศาลอาจจะเห็นวาการใชมาตรการลงโทษบางประการฝาฝน ก็สามารถทบทวนแกไขได
ถาการลงโทษนั้นรุนแรงเกินความจําเปนในการบรรลุเปาหมายของงานราชทัณฑที่ถูกตองตามทํานองคลองธรรม
ศาลอุทธรณของสหรัฐอเมริกา (Circuit Court) ไดมีคําพิพากษาในคดีสําคัญ 2 คดี
เกี่ยวกับการลงโทษทางรางกายตอนักโทษ ในคดี Talley V. Steaphens, 1965 และ Jackson V.Bishop, 1968
ซึ่งทั้งสองคดีศาลไดพิจารณาความชอบดวยรัฐธรรมนูญในการเฆี่ยนนักโทษในเรือนจํา รวมทั้งการใชเชือกหนัง
มัดนักโทษอันเปนการลงโทษทางวินัยในคดีแรก ศาลอุทธรณไดวางขอจํากัดการลงโทษทางรางกาย สวนในคดี
หลังศาลอุทธรณไดพิพากษาใหการเฆี่ยนนักโทษเปนการขัดตอบทบัญญัติการแกไขรัฐธรรมนูญมาตรา 8 โดยศาล
ใหเหตุผลวา การลงโทษทางกายไมอาจควบคุมการใชอํานาจโดยมิชอบของเจาหนาที่ของรัฐได ตราบใดที่
ยังอนุญาตใหใชวิธีการดังกลาวในการลงโทษนักโทษในเรือนจํา
2) เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็นและการสมาคม
การคุมครองสิทธิในการพูดและการสมาคม เปนหลักประกันที่จะตองคํานึงถึงการรักษา
ความปลอดภัยในเรือนจําดวย ในกรณีที่มีการจํากัดเสรีภาพ ขอบังคับของเรือนจําจะตองมีมาตรการในการ
จํากัดสิทธิใหนอยที่สุด เชน การอนุญาตใหนับถือศาสนา และการหามมิใหประกอบกิจศาสนายอมไมอาจ
กระทําได เปนตน หรือการรวมกลุมของนักโทษอาจกระทําไดแตตองไมเปนอันตรายตอเรือนจํา การไมอนุญาต
จะตองแสดงเหตุผลประกอบดวย เพื่อที่นักโทษจะสามารถอุทธรณตอผูบังคับบัญชาชั้นสูงตอไปได
3) การเยี่ยม การเขียนจดหมาย และการใชโทรศัพท
ศาลสหรัฐฯ ไดขยายขอบเขตของสิทธิผูตองขังใหไดรับการเยี่ยมและการติดตอกับ
โลกภายนอกมากขึ้น ศาลสูงสุดไดมีคําพิพากษา หามการตรวจจดหมายที่สงออกจากเรือนจํา รวมทั้งหามการจํากัด
สิทธิการติดตอกันทางจดหมายระหวางนักโทษกับบุคคลที่อยูนอกเรือนจํา การตรวจจดหมายที่สงเขามาในเรือนจํา
ใหกระทําได แตหามอานขอความในจดหมาย รวมทั้งอนุญาตใหทําการตรวจดวยอุปกรณและการสัมผัสดวยมือ
นอกจากนั้น เรือนจําควรจัดใหมีตัวแทนของนักโทษที่ทําหนาที่สังเกตการณปฏิบัติในหองไปรษณียของเรือนจํา