Page 65 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 65

50     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                             2)   บทบัญญัติมาตรา 4 (Fourth Amendment 1791) “สิทธิของประชาชนที่จะมี
              ความปลอดภัยในรางกาย เคหสถาน เอกสารและทรัพยสิ่งของจากการถูกตรวจคนหรือยึดโดยไมมีเหตุอันชอบ
              ดวยกฎหมายจะกระทําไมได และจะออกกฎหมายเพื่อกระทําการดังกลาวมิได เวนแตมีเหตุผลที่ควรเชื่อถือ

              ซึ่งไดรับการยืนยันดวยคําสาบานหรือคําปฏิญาณ และจะตองระบุสถานที่ที่จะคน หรือบุคคลที่จะถูกจับกุม

              หรือสิ่งที่จะยึดไวในหมายนั้นอยางเฉพาะเจาะจง”
                                 จากบทบัญญัติดังกลาวศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาไดอาศัยอํานาจในการเปนผูตีความ
              รัฐธรรมนูญ โดยตีความคําวา “การคนและการยึด” ในความหมายอยางกวางและไดกําหนดมาตรฐานคําวา

              “ไมสมเหตุสมผล” (Unreasonable) อยางเครงครัด ซึ่งสามารถสรุปหลักเกี่ยวกับการคน หรือการยึด (Search

              and seizure) ได ดังนี้ 65
                                 การตีความคําวา “การคนหรือการยึด” นั้น ศาลสูงสุดไดตีความตามเจตนารมณโดยมุงเนน
              ถึงสิทธิและผลประโยชนที่รัฐธรรมนูญมาตรานี้ตองการจะคุมครอง

                             3)   มาตรา 14 (Fourteenth Amendment) (1868) “ขอ 1 บุคคลทุกคนที่เกิดหรือแปลงชาติ

              ในสหรัฐ และอยูในบังคับของกฎหมายสหรัฐของมลรัฐที่มีภูมิลําเนาอยูมลรัฐใดจะออกกฎหมายหรือบังคับใช
              กฎหมายที่เปนการตัดทอนเอกสิทธิ หรือความคุมกันที่พลเมืองของสหรัฐจะพึงไดรับไมได หรือมลรัฐใดจะรอนสิทธิ
              ในชีวิต เสรีภาพ หรือทรัพยสินของบุคคล โดยไมชอบดวยกระบวนความแหงกฎหมาย หรือจะปฏิเสธไมใหบุคคลใด

              อยูที่อยูในเขตอํานาจใหไดรับความคุมครองตามกฎหมายโดยเทาเทียมกันนั้นกระทํามิได”

                             ตอมา ในป ค.ศ. 1890 เมื่อเทคโนโลยีและสังคมเจริญขึ้น ก็ปรากฏวามีการละเมิดสิทธิสวนบุคคล
              เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิสวนบุคคลโดยสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ) เชน การนําเรื่องชูสาว
              มาลงตีพิมพเพื่อหวังเพิ่มยอดขายโดยไมมีการคํานึงถึงจรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ จากสภาพปญหาดังกลาว

              ทําใหสองทนายความชาวสหรัฐอเมริกา คือ แซมมวล ดี วอแรน (Samuel D. Warren) และหลุยส ดี แบรนไดส

              (Louis D. Brandies) ไดเขียนบทความเรื่อง “The Right to Privacy” ลงตีพิมพในวารสาร Harvard Law
                     66
              Review  โดยบทความดังกลาวมีสาระสําคัญเปนการกลาวถึงหลักการที่บุคคลตองไดรับการคุมครองโดยบริบูรณ
              ในรางกายและทรัพยสิน ซึ่งแตเดิมกฎหมายคอมมอนลอวบังคับใหไดรับการชดใชคาเสียหายเฉพาะการละเมิด

              ตอชีวิต รางกาย และทรัพยสินเทานั้น แตเมื่อสังคมมีความเปลี่ยนแปลงไปทําใหตองตีความลักษณะและขอบเขต

              แหงการคุมครอง ซึ่งสิทธินั้น ๆ กันใหม โดยจะตองตีความขยายขอบเขตของสิทธิดังกลาวใหมีความหมายถึง
              สิทธิที่จะมีความสุขในชีวิต หรืออีกนัยหนึ่ง คือ สิทธิที่จะอยูตามลําพังอยางสันโดษ ปราศจากการเขารบกวน
              โดยสื่อมวลชนนั่นเอง แตผูเขียนทั้งสองยอมรับวา “สิทธิสวนบุคคล” มีขอจํากัดบางประการกลาวคือ










              65  โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิของผูตองหา จําเลย และผูตองโทษในคดีอาญา โดย รองศาสตราจารยณรงค  ใจหาญ และคณะ,
                เสนอตอ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา,พ.ศ. 2540
              66  วิทยานิพนธ เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเผยแพรขาวผูเสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศ นางสาวศศิภา
                เรืองฤทธิ์ชาญกุล, คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2553
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70