Page 52 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 52
รายงานการศึกษาวิจัย 37
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
ในสวนที่เกี่ยวกับความเสียหาย (le dommage) นอกจากความเสียหายทางวัตถุ
หรือทางทรัพยสิน (un dommage matériel) แลว ความเสียหายที่ผูเสียหายไดรับในกรณีการกระทําอันกระทบ
ตอชีวิตสวนตัวของบุคคลมักจะเปนความเสียหายทางจิตใจ (un préjudice moral) เสียมากกวา อันไดแก
ความรูสึกละอายใจ (un sentiment de la pudeur) ความทรมานใจ (une souffrance ou une douleur
morale) อันเกิดจากการที่ชีวิตสวนตัวของตนถูกเปดเผยตอสาธารณะหรือตอบุคคลอื่นการกําหนดจํานวน
คาเสียหายในกรณีเชนนี้เปนเรื่องที่ยากพอสมควร ซึ่งศาลจะตองพิจารณาถึงขอบเขตแหงความเสียหายที่ผูเสียหาย
ไดรับ (l’étendue du préjudice subi) หรือความรายแรงแหงการกระทําความผิด (la gravité de la faute)
นั่นเอง โดยพิจารณาจากปจจัย 2 ประการเปนสําคัญ ไดแก บุคคลผูถูกเปดเผยความลับในชีวิตสวนตัว
(la personne faisant l’objet de la divulgation) และขอบเขตของการเปดเผย (l’étendue de la divulgation)
เพื่อมิใหการกําหนดจํานวนคาเสียหายเปนไปตามอําเภอใจและไมเทาเทียมกัน ทั้งนี้ ศาลฎีกา (la Cour de
cassation) มีอํานาจสูงสุด (un pouvoir souverain) ในการกําหนดจํานวนคาเสียหาย
ความสัมพันธระหวางการกระทําความผิดของผูกอใหเกิดความเสียหายและความเสียหาย
ที่ผูเสียหายไดรับ (un lien de causalité entre la faute et le préjudice) ยอมเปนที่ประจักษในกรณี
การกอใหเกิดผลกระทบหรือความเสียหายตอความลับในชีวิตสวนตัวของบุคคลในทางปฏิบัติ ผูเสียหายเพียงแต
เรียกรองคาเสียหายอันเกิดแตการนั้น ศาลก็มักจะพิพากษาใหผูกระทําความผิดนั้นชดใชคาเสียหายแกผูเสียหาย
ดังนั้น บุคคลผูกระทําการใด ๆ อันเปนการลวงละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลอื่นและกอใหเกิดความเสียหาย
แกบุคคลนั้น ยอมมีหนาที่ที่จะตองชดใชคาเสียหายแกผูเสียหาย เนื่องจากบุคคลทุกคนยอมมีสิทธิที่จะไดรับ
การเคารพจากบุคคลอื่นตอสิทธิในชีวิตสวนตัวของตน ศาลแพงแหงปารีส (la Cour de Paris) ไดเคยพิพากษา
43
ไวในคดีหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 1966 โดยใหคําอธิบายตอนหนึ่งประกอบคําพิพากษาใน คดีวา “ปจเจกชน
ทุกคนมีสิทธิในความลับเกี่ยวกับชีวิตสวนตัวของตน (droit au secret de sa vie privée)” ในคดีแพงอีกคดีหนึ่ง
44
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 1970 ศาลแพงแหงปารีสไดระบุวา “การใชเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (la liberté
d’expression) จะกระทําไดตอเมื่ออยูภายใตเงื่อนไขที่จะไมกอใหเกิดความเสียหายตอสิทธิของบุคคลที่จะไดรับ
การเคารพในชีวิตสวนตัวของตน” และศาลไดใหคํานิยามแกสิทธิดังกลาววาหมายถึง “สิทธิของบุคคลที่จะ
ดําเนินชีวิตของตนตามวิถีทางที่ตนปรารถนา โดยจะถูกแทรกแซงจากภายนอกนอยที่สุด”
2) มาตรการคุมครองทางอาญาโดยการกําหนดบทลงโทษทางอาญา
การกระทําอันเปนการละเมิดหรือกอใหเกิดผลกระทบตอสิทธิในชีวิตสวนตัว
ของบุคคลยังไดรับการคุมครองโดยเปนความผิดทางอาญาตามบทบัญญัติแหงกฎหมายอาญาอีกดวย ประมวล
กฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศส (le Code pénal) ไดกําหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทําความผิดอาญา
ซึ่งเกี่ยวของกับการละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัวในหลาย ๆ กรณี เชน
43 Paris, 7e Ch., 17 mars 1966, S.A. « La France continue » c/ Trintignant, D. 1966, J. 749.
44 Paris, 7e Ch., 15 mai 1970, Soc. France Editions et Publications c/ Epoux Tenenbaum, D. 1970, J. 466,
conclusions de l’Avocat général CABANNES, note P.A. et H.M.: observations R. NERSON, Rev. trim. dr.
civ., 1971, p. 114. V. dans la doctrine, en faveur de ce droit, H.-U. SPOHN, La protection de l’intimité
de la personne par le droit de la responsabilité en France et en Allemagne, th. dact., Nancy, 1967