Page 57 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 57
42 รายงานการศึกษาวิจัย
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
การใชสิทธิของบุคคลในชีวิตสวนตัวที่เกี่ยวกับตนซึ่งไดรับการรับรองและคุมครองอีกดวย ดังที่ศาลแหงยุโรป
60
ดานสิทธิมนุษยชนไดเคยวินิจฉัยไวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1989 ในคดี Gaskin c/Royaume-Uni ศาลไดกําหนด
หนาที่ขององคกรของรัฐในการกระทําการ (une obligation positive) เพื่อเคารพตอสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล
ในคดีนี้ผูรองซึ่งเปนคนสัญชาติอังกฤษและเปนเด็กกําพราที่มารดาของตนนําไปฝากไวกับองคกรเพื่อสังคม
แหงชุมชน Liverpool (La commune Liverpool) และองคกรนี้ไดใหผูรองไปอยูในการเลี้ยงดูของผูปกครอง
หลายคนตามลําดับ (plusieurs parents nourriciers successifs) ผูรองมีปญหาดานการศึกษา จนกระทั่ง
ผูรองบรรลุนิติภาวะ ผูรองตองการจะขอตรวจดูแฟมขอมูลที่องคกรเพื่อสังคมแหงชุมชน Liverpool ไดจัดทําขึ้น
ที่เกี่ยวกับตนและที่เกี่ยวกับผูเยาวที่อยูในความรับผิดชอบขององคกรของรัฐ อันเปนสิทธิตามกฎหมาย ที่ปรึกษา
เทศบาลแหง Liverpool กลาวอางวาผูรองจะสามารถขอตรวจดูขอมูลดังกลาวไดก็ตอเมื่อผูเปนเจาของขอมูล
แพทย พยาบาล ผูปกครองที่รับเลี้ยงดูและตํารวจไดใหความยินยอมแกการนั้น ทั้งนี้ ตามหนังสือเวียนฉบับหนึ่ง
ของกระทรวงดานสุขภาพ (une circulaire du ministère de la Santé) ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมาย
ผูรองจึงสามารถตรวจดูขอมูลจํานวน 65 แฟม จากแฟมขอมูลที่เกี่ยวกับผูรองทั้งหมด 352 แฟม หากแตผูรอง
ยืนยันที่จะขอตรวจดูขอมูลที่เกี่ยวกับตนทั้งหมด ผูรองจึงขอใหศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนรับรองสิทธิของตน
ที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวและองคกรของรัฐมีหนาที่ที่จะตองอนุญาตใหตนเขาตรวจดูแฟมขอมูลทั้งหมด
ที่เกี่ยวกับตน ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนพิจารณาวาเอกสารตาง ๆ ที่สงไปเขาแฟมขอมูลเหลานั้นเกี่ยวของ
กับชีวิตครอบครัวและชีวิตสวนตัวของผูรอง ดังนั้น การเขาถึงขอมูลตาง ๆ ดังกลาวจึงเกี่ยวของกับเนื้อหาสาระ
แหงสิทธิที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวของผูรอง โดยนัยดังกลาวดังเชนในคดีอื่น ศาลแหงยุโรปฯ พยายาม
สรางดุลยภาพที่เหมาะสมระหวางประโยชนสาธารณะ (l’intérêt général) และประโยชนของผูรอง ประโยชน
สาธารณะในที่นี้ คือลักษณะความลับ (le caractère confidentiel) ของขอมูลเหลานั้นเพื่อการไดรับขอมูล
ที่ถูกตองและเพื่อการปองกันผูใหขอมูลนั้น ในทางตรงกันขาม บุคคลที่เกี่ยวของกับแฟมขอมูลดังกลาวยอมมี
สวนไดเสียอันสําคัญอยางยิ่ง (un intérêt très important) ที่จะรับทราบขอมูลตาง ๆ ที่ชวยใหเขารูและเขาใจ
ชีวิตวัยเยาวและการศึกษาในชวงเวลาตาง ๆ ของตน ดังนั้นศาลแหงยุโรปฯ จึงวินิจฉัยวาการกําหนดใหการเขาถึง
แฟมขอมูลตาง ๆ นั้นอยูภายใตเงื่อนไขของความตกลงของบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวของซึ่งเปนผูใหขอมูล
(l’acceptation des informateurs) จึงไมสอดคลองกับบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแหงยุโรป
วาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และเปนการฝาฝนบทบัญญัติดังกลาว โดยนัยดังกลาว
ศาลแหงยุโรปฯ ไดขยายกรอบการใชบังคับ“หลักความไดสัดสวน” (le principe de la proportionnalité)
ตามที่ไดรับรองไวในวรรคสองของมาตรา 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ สําหรับกรณีการแทรกแซงสิทธิในชีวิต
สวนตัวของบุคคลโดยองคกรของรัฐตอการกําหนดหนาที่กระทําการขององคกรของรัฐอันเนื่องมาจากสิทธิดังกลาว
การกําหนดใหการตรวจดูแฟมขอมูลอยูภายใตเงื่อนไขความยินยอมของผูใหขอมูลยอมมิไดสัดสวนกับประโยชน
สาธารณะอันเกี่ยวกับลักษณะความลับของแฟมขอมูลเหลานั้น
60 Arrêt Gaskin c/Royaume-Uni du 7 juillet 1989, Volume n° 160 de la série A des publications de la Cour;
V. V. BERGER, Jurisprudence de la Cour européenne des droits de l’homme, 3e éd., n° 86, p. 241.