Page 51 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 51

36     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                               (2.2)  ความรับผิดทางแพงของผูกระทําละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลอื่น
                                      นอกจากผูเสียหายจะขอใหศาลสั่งใหหยุดการกระทําอันเปนการละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัว
              ของตนอันเปนมาตรการหลักในการดําเนินการดังที่ไดกลาวแลว ผูเสียหายยังสามารถเรียกคาเสียหายจาก

              ผูละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัวของตนเพื่อความเสียหายที่ตนไดรับจากการกระทําละเมิดนั้นไดอีกดวย ซึ่งในทางปฏิบัติ

              ผูเสียหายมักจะดําเนินการทั้งสองประการดังกลาวไปพรอม ๆ กัน โดยทั่วไปแลว การกระทําอันเปนการละเมิด
              สิทธิในชีวิตสวนตัวยอมเขาเงื่อนไขแหงความรับผิดทางแพงจากการกระทําของบุคคล (la responsabilité civile
              du fait personnel) ตามที่บัญญัติไวในมาตรา 1382 แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศส

              ความวา “บุคคลที่กอใหเกิดความเสียหายแกบุคคลอื่นจะตองรับผิดตอบุคคลนั้นเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

                         40
              แตการนั้น”  กลาวคือ มีการกระทํา ความผิดของบุคคลหนึ่งตอบุคคลอื่น และการกระทํานั้นกอใหเกิด
              ความเสียหายแกผูเสียหาย
                                      ในสวนที่เกี่ยวกับการกระทําความผิด (la faute) ความผิดของผูกระทําการอันกอใหเกิด

              ผลกระทบหรือความเสียหายตอชีวิตสวนตัวของบุคคลในกรณีนี้ ไดแก การไมปฏิบัติหนาที่ที่ตามกฎหมายของตน

              (un manquement à une obligation légale) ในอันที่จะตองเคารพตอสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลอื่น
              การประพฤติตนไมถูกตอง (une erreur de conduite) หรือไมเหมาะสม (un comportement anormal)
              แตโดยทั่วไปการกอใหเกิดผลกระทบตอชีวิตสวนตัวของบุคคลมักจะเปนการกระทําความผิดโดยจงใจ (une faute

              délibérée) อันมาจากการเลือกที่จะกระทําการนั้นโดยสมัครใจ (un choix volontaire) ของผูกระทํา แตก็อาจ

              มีกรณีเปนการกระทําโดยละเวน (une simple omission) ไดเชนกัน เชน กรณีบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่ง
              ที่ปลอยใหมีการตีพิมพบทความซึ่งกอใหเกิดผลกระทบตอชีวิตสวนตัวของบุคคลหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ตนควรที่จะคัดคาน
              การตีพิมพบทความดังกลาว บรรณาธิการนั้นจึงตองรับผิดรวมกับบริษัทนิตยสารในการชดใชคาเสียหาย

              แกผูเสียหายเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแตการนั้น 41

                                      การกระทําความผิดโดยสวนใหญจึงเปนความผิดทางละเมิด (la faute délictuelle)
              แตในบางกรณีก็อาจเปนความผิดทางสัญญา (la faute contractuelle) ก็ได ในกรณีที่ผูเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับ
              ชีวิตสวนตัวของบุคคลอื่นมีขอผูกพันตอผูเสียหายที่จะไมกระทําเชนนั้น หากแตบุคคลนั้นมิไดปฏิบัติตามขอผูกพัน

              ของตน ตัวอยางเชน กรณีหนังสือพิมพฉบับหนึ่งตีพิมพบทสัมภาษณของนักแสดงทานหนึ่งเกี่ยวกับชีวิตสวนตัว

              ของตนทั้งหมด ในขณะที่มีการตกลงกันวาจะตีพิมพเฉพาะขอมูลสวนหนึ่งเทานั้น 42














              40  Art. 1382 C. civ. « Tout fait quelconque de l’homme, qui cause à autrui un dommage, oblige celui par la faute
                duquel il est arrivé à le réparer. »
              41  Civ. 2,  9 juillet 1980, Bull. II, n° 179; Paris, 1ère Ch. A, 19 juin 1989, F. c/ L., D. 1989, I.R., 240.
              42  Paris, 1ère Ch. A, 12 janvier 1987, Distel c/ Soc. anon. Cogedi-presse, D. 1987, I.R., 32.
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56