Page 48 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 48

รายงานการศึกษาวิจัย  33
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                           การแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลที่เกิดขึ้นมักจะเปนกรณีการติดตาม
               หรือสืบสวนเกี่ยวกับชีวิตสวนตัวของบุคคลคนหนึ่งซึ่งกฎหมายหรือคําพิพากษาของศาลอนุญาตใหกระทําได
               โดยพิจารณาตามวัตถุประสงคตาง ๆ ที่กําหนดไวในขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปเปนสําคัญ ซึ่งไดแกวัตถุประสงค

               อันเกี่ยวดวยประโยชนสาธารณะ (un intérêt public) เปนหลัก แตในบางกรณีก็อาจเกี่ยวของกับประโยชน

               ของเอกชน (un intérêt privé) ไดเชนกัน
                                           ในสวนที่เกี่ยวกับวัตถุประสงคเพื่อประโยชนสาธารณะ เชน เพื่อความมั่นคงแหงรัฐ
               ความปลอดภัยของประชาชน การรักษาความสงบเรียบรอย และการปองกันการกระทําความผิดอาญา วัตถุประสงค

               ตาง ๆ เหลานี้มักจะเปนเหตุผลแหงขอยกเวนของหลักการหามกระทําการอันเปนการแทรกแซงหรือลวงละเมิด

               สิทธิในชีวิตสวนตัวเกี่ยวกับที่พักอาศัย (le principe de l’inviolabilité du domicile) อันไดแก การเขาตรวจคน
               สถานที่พักอาศัย (de perquisitions) ของเอกชนเพื่อคนหาพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทําความผิด
               หรือการตรวจคนรางกาย (la fouille corporelle) ซึ่งเปนการตรวจคนเนื้อตัวรางกายหรือเครื่องแตงกาย

               ของบุคคลหนึ่ง อันอาจนํามาซึ่งการยึดหลักฐานของกลางที่คนพบ (la saisie des éléments de preuves

               découvertes) การตรวจคนในกรณีตาง ๆ ดังกลาวจะกระทําไดโดยชอบดวยกฎหมายก็ตอเมื่อไดกระทําตาม
               หลักเกณฑและเงื่อนไขตาง ๆ ที่กําหนดไวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (le Code de procédure
               pénale) เทานั้น ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงคในการคุมครองสิทธิเสรีภาพสวนบุคคล

                                           วัตถุประสงคเพื่อประโยชนสาธารณะประการตาง ๆ ดังกลาวขางตน ยังมักจะเปน

               เหตุผลแหงขอยกเวนของหลักการหามกระทําการอันเปนการแทรกแซงหรือลวงละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัวเกี่ยวกับ
               การติดตอทางจดหมาย (le principe de l’inviolabilité des correspondances) อีกดวย อันไดแก กรณีการ
               ดักฟงการติดตอสื่อสารทางโทรศัพทที่ดําเนินการโดยองคกรตุลาการ (l’autorité judiciaire) เพื่อหาตัวผูกระทํา

               ความผิดทางอาญา หรือจากองคกรของรัฐทางปกครอง (la pratique administrative) เพื่อปองกันการกระทํา

               อันอาจกอใหเกิดผลกระทบตอความมั่นคงแหงรัฐทั้งภายในและภายนอก อยางไรก็ตาม การดําเนินการดังกลาว
               ที่ไดรับอนุญาตจากองคกรตุลาการนั้นถูกศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนพิจารณาวาไมเปนไปตามบทบัญญัติ
               มาตรา 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ  และยิ่งเปนการไมชอบยิ่งขึ้นในกรณีเปนการกระทําขององคกรของรัฐ

               ทางปกครอง การดําเนินการดังกลาวจะกระทําไดก็เฉพาะแตเมื่อมีกฎหมายบัญญัติใหกระทําไดเทานั้น ความลับ

               ในการติดตอสื่อสาร (le secret des correspondances émises par la voie des télécommunications)
               จะตองไดรับหลักประกันในกฎหมายและการละเมิดความลับโดยองคกรของรัฐจะกระทําไดก็เฉพาะแตเพื่อความ
               จําเปนอันเกี่ยวกับประโยชนสาธารณะที่กฎหมายกําหนดไวเทานั้นและภายใตขอจํากัดที่กฎหมายกําหนดไวเชนกัน

               กรณีขอยกเวนที่กฎหมายบัญญัติจึงไดแกการดักฟงที่สั่งโดยองคกรตุลาการหรือที่ไดรับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรี 38











               38  LOI n°91-646 du 10 juillet 1991 relative au secret des correspondances émises par la voie
                 des télécommunications, JORF n°162 du 13 juillet 1991,  page 9167.
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53