Page 46 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 46

รายงานการศึกษาวิจัย  31
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                  ประการที่หนึ่ง สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะหามมิใหชีวิตสวนตัวของตนถูกเปดเผยโดยมิไดรับ
               ความยินยอมของตนเปนการลวงหนา ดังจะเห็นไดจากคดีหนึ่งซึ่งหลังจากที่ศาลแพงไดพิพากษาวาจดหมายลับ
               หรือภาพของบุคคลหนึ่งจะถูกเผยแพรออกไปโดยมิไดรับความยินยอมของบุคคลที่เกี่ยวของกับความลับ

               หรือภาพนั้นมิได ศาลแพงไดอธิบายเพิ่มเติมวาสิ่งที่เปนสวนหนึ่งของชีวิตสวนตัว (les souvenirs de la vie

               privée) ของบุคคลแตละคนเปนทรัพยสินทางจิตใจ (son patrimoine moral) ของบุคคลนั้น บุคคลใดก็ตาม
               ไมมีสิทธิที่จะเผยแพรสิ่งนั้นโดยมิไดรับอนุญาตโดยชัดแจงจากบุคคลที่เกี่ยวของนั้นแตอยางใด แมวาจะมิได
               กระทําโดยมีเจตนาที่ไมสุจริตก็ตาม (sans intention malveillante)

                                  ประการที่สอง สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะหามมิใหเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับชีวิตสวนตัวของตน

               ถูกติดตามหรือสืบสวนโดยมิไดรับความยินยอมของตน หากเปนที่ยอมรับวาภาพของบุคคลหนึ่งที่แสดงใหเห็น
               ชีวิตสวนตัวของบุคคลนั้นจะถูกเปดเผย โดยมิไดรับอนุญาตจากบุคคลนั้นเสียกอนแลว ก็จะตองยอมรับดวยวา
               เสียงของบุคคลนั้นจะตองไมถูกบันทึก จดหมายของบุคคลนั้นจะตองไมถูกเปดอาน และการเดินทางของบุคคลนั้น

               ก็จะตองไมถูกติดตามดวยเชนกันกลาวโดยทั่วไป คือ การกระทําใด ๆ ในชีวิตสวนตัวของบุคคลจะตองไมถูกติดตาม

               หรือสืบสวนโดยมิไดรับอนุญาตจากบุคคลนั้นเสียกอนนั่นเอง ทั้งนี้ การติดตามหรือสืบสวนเกี่ยวกับชีวิตสวนตัว
               ของบุคคลมิไดจํากัดแตเฉพาะการแทรกแซงในทางรูปธรรม (une immixtion matérielle) เทานั้น หากแตยัง
               หมายรวมถึงการบันทึกคําพูดหรือภาพของบุคคลหนึ่ง ตลอดจนการบังคับใหบุคคลหนึ่งเปดเผยเรื่องใด ๆ

               อันเกี่ยวกับชีวิตสวนตัวหรือชีวิตครอบครัวของบุคคลนั้นโดยใชผลประโยชนทางทรัพยสินหรือจิตใจเปนเครื่อง

               ตอรองโดยนัยดังกลาว สิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลที่ไดรับการรับรองและคุมครองตามบทบัญญัติมาตรา 9
               แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศส จึงประกอบดวยสิทธิสําคัญสองประการดังกลาวขางตน
               และกอใหเกิด “หนาที่ตามกฎหมาย” (le devoir juridique) แกบุคคลทุกคนที่จะตอง “ไมเปดเผย” ชีวิตสวนตัว

                                                                               35
               ของบุคคลอื่น และจะตอง “ไมเขาไปแทรกแซง” ชีวิตสวนตัวของบุคคลอื่นดวย
                                  (1.2) สถานะหรือคุณคาทางกฎหมายของสิทธิในชีวิตสวนตัวที่ไดรับความคุมครอง
                                        การรับรองและคุมครองสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลตามบทบัญญัติมาตรา 9
               แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศสยอมนํามาซึ่งหลักการตองหามการกระทําการใด ๆ อันเปน

               การละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลหนึ่ง ไมวาจะเปนหลักการตองหามกระทําละเมิดสิทธิในชีวิตสวนตัว

               เกี่ยวกับที่พักอาศัย (un principe de l’inviolabilité du domicile) หลักการตองหามกระทําละเมิดสิทธิในชีวิต
               สวนตัวเกี่ยวกับการติดตอทางจดหมาย (un principe de l’inviolabilité des correspondances) หลักการ
               ตองหามตาง ๆ ดังกลาวไดรับการตีความจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (le Conseil constitutionnel) วาลวนแตเปน

               หลักการที่มี “คุณคาในระดับรัฐธรรมนูญ (un principe à valeur constitutionnelle) เลยทีเดียว โดยคณะตุลาการ

                                                36
               รัฐธรรมนูญไดเคยวินิจฉัยไวในคดีหนึ่ง  วามาตรา 66 ของรัฐธรรมนูญแหงสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับป 1958


               35  P. GULPHE, Les tribunaux français gardiens de l’intimité de la vie privée, Rapport au XIVème Congrès
                 de l’Institut international de droit d’expression française, Montréal, 12-19 septembre 1981, Revue
                 juridique et politique indépendence et coopération, 1982, p. 558.
               36  Décision du 29 décembre 1983 n° 83-164 DC, J.O. 30 décembre 1983, p.  3873-3874; J.C.P. 1984, II, 20158,
                 note R. DRAGO et A. DECOCQ; D. 1985, I.R., 220, note C. GAVALDA et C. LUCAS DE LEYSSAC.
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51