Page 45 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 45

30     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                 (1)  การรับรองและคุมครองสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลในประมวลกฎหมายแพง
                                                                                             32
                                       มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศส  ไดบัญญัติรับรอง
              และคุมครองสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลไวอยางชัดแจง ในทํานองเดียวกับที่บัญญัติไวในขอ 8 วรรคหนึ่ง

              ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสไดเขาเปน

              ภาคีดวย โดยบัญญัติวา “บุคคลแตละคนมีสิทธิที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวของตน ศาลมีอํานาจกําหนด
              มาตรการใด ๆ ที่เหมาะสมเพื่อขัดขวางหรือทําใหสิ้นสุดลงซึ่งการกระทําอันเปนการละเมิดตอความลับในชีวิต
              สวนตัว เชน การอายัด การยึดหรือการดําเนินการอยางอื่น ทั้งนี้ ไมกระทบตอการเยียวยาความเสียหายที่ไดรับ...” 33

                                       อยางไรก็ตาม สิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลที่ไดรับการรับรองและคุมครองตามบทบัญญัติ

              ดังกลาวขางตนมีขอพิจารณาสําคัญสามประการ ไดแก สิทธิในชีวิตสวนตัวที่ไดรับการรับรองและคุมครองนั้น
              มีเนื้อหาอยางไร มีสถานะทางกฎหมายอยางไร และมีขอจํากัดสิทธิในกรณีใดบาง หรือไม
                                       (1.1)  เนื้อหาแหงสิทธิในชีวิตสวนตัวที่ไดรับความคุมครอง (le contenu du

              droit au respect de la vie privée)

                                           มาตรา 9 แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศสบัญญัติรับรอง
              และคุมครองสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลไวอยางชัดแจง แตมิไดบัญญัติถึงสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล
              อันเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว ที่พักอาศัย และการติดตอทางจดหมาย ดังเชนที่กําหนดไวในขอ 8

                                           วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและ

              เสรีภาพขั้นพื้นฐานแตอยางใดอยางไรก็ตาม ตามความเห็นของผูยกรางมาตรา 9 ดังกลาวนั้น สิทธิในชีวิตสวนตัว
              ประการตาง ๆ ดังกลาว ยอมรวมอยูในสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลตามนัยมาตรา 9 อยูแลว
                                           แมวาคําพิพากษาของศาลแพงในคดีตางๆ อันเปนที่มาของบทบัญญัติมาตรา 9

                                                           34
              แหงประมวลแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปจจุบัน  จะมิไดระบุหรือกําหนดเนื้อหาแหงสิทธิในชีวิตสวนตัว
              ของบุคคลที่รับรองและคุมครองไวอยางชัดแจงวาประกอบดวยสิทธิยอย ๆ ประการใดบางแตอยางไรก็ตาม
              คําพิพากษาของศาลแพงในคดีตางๆ เหลานั้นสะทอนใหเห็นถึงลักษณะสําคัญสองประการของสิทธิในชีวิตสวนตัว
              ของบุคคลที่ไดรับการรับรองและคุมครองตามมาตรา 9 แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐฝรั่งเศส กลาวคือ








              32  บทบัญญัติของมาตรา 9 แหงประมวลกฎหมายแพง มีที่มาจากรัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 1970 เพื่อสรางเสริม
                หลักประกันสิทธิเสรีภาพสวนบุคคลของพลเมืองใหเขมแข็ง (Loi du 17 juillet 1970 tendant à renforcer la garantie
                des droits individuels des citoyens )
              33  Art. 9 C. civ. « Chacun a droit au respect de sa vie privée.
                Les juges peuvent, sans préjudice de la réparation du dommage subi, prescrire toutes mesures, telles
                que séquestre, saisie et autres, propres à empêcher ou faire cesser une atteinte à l’intimité de la vie privée :
                ces mesures peuvent, s’il y a urgence, être ordonnées en référé. »
              34  รัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 1970 บัญญัติใหเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 9 แหงประมวลกฎหมายแพงของสาธารณรัฐ
                ฝรั่งเศสขึ้นใหม ตามแนวคําพิพากษาของศาลแพงในคดีตาง ๆ ที่เกี่ยวของ กลาวอีกนัยหนึ่ง เปนการนําเอาคําพิพากษาของ
                ศาลแพงในคดีตาง ๆ ที่เกี่ยวของมาบัญญัติรับรองเปนกฎหมายลายลักษณอักษรนั่นเอง
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50