Page 42 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 42

รายงานการศึกษาวิจัย  27
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





               ที่เกี่ยวของนั้นยอมสามารถคาดเห็นถึงผลของกฎหมายนั้นที่อาจจะมีตอตนได โดยนัยดังกลาว กฎหมายนั้น
               จึงตองบัญญัติโดยใชถอยคําที่ชัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับขอบเขตของกฎหมายและวิธีการใชอํานาจขององคกรของรัฐ
               ในลักษณะซึ่งบุคคลที่เกี่ยวของจะสามารถรับรูไดวาพฤติกรรมในลักษณะใด จะอยูในขอบเขตแหงการใชบังคับ

               ของกฎหมายและจะกอใหเกิดผลแกตนอยางไร และเพื่อมิใหองคกรของรัฐหรือเจาหนาที่ของรัฐกําหนดมาตรการ

               อันเปนการแทรกแซงการใชสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลตามอําเภอใจ (les atteintes arbitraires
               de la puissance publique) นั่นเอง กลาวอีกนัยหนึ่ง การกระทํานั้นตองมีกฎหมายบัญญัติ ใหกระทําได
               ก็เพื่อใหการดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐอันเปนการแทรกแซงการใชสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล

               เปนการกระทําที่ชอบดวยกฎหมาย (légitime)

                                  ประการที่สาม กฎหมายที่บัญญัติใหองคกรของรัฐดําเนินมาตรการอันมีผลเปนการแทรกแซง
               สิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล มิไดหมายความถึงแตเพียงกฎหมายภายในของประเทศที่เกี่ยวของเทานั้น
               แตยังหมายความรวมถึง “หลักประกันสิทธิ” ในลักษณะตาง ๆ ของผูเกี่ยวของ (les garantis de droit de

               l’intéressé)  เพื่อตรวจสอบมิใหการดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐเปนไปโดยไมมีขอบเขตหรือตามอําเภอใจ

               อีกดวย เชน การตรวจสอบหรือควบคุมการดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐโดยองคกรดานกระบวนการยุติธรรม
               (le contrôle des juridictions administratives)
                            (2)  การดําเนินมาตรการนั้นเปนไปเพื่อวัตถุประสงคอันเปนประโยชนสาธารณะอยางหนึ่ง

               อยางใดตามที่กําหนดไว

                                นอกจากการดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐอันมีผลเปนการแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัว
               ของบุคคลจะตองมีกฎหมายบัญญัติใหกระทําไดดังที่ไดกลาวขางตนแลวมาตรการดังกลาวยังจะตองเปนไปเพื่อ
               วัตถุประสงคอันชอบดวยกฎหมาย (ayant un but légitime) อีกดวย กลาวอีกนัยหนึ่ง การดําเนินมาตรการนั้น

               จะตองเปนไปเพื่อวัตถุประสงคอันเกี่ยวดวย “ประโยชนสาธารณะ” ตามที่กําหนดไวในวรรคสองของขอ 8

               ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกดวย วัตถุประสงคอันเปน
               ประโยชนสาธารณะที่มุงหมาย ไดแก ความมั่นคงแหงรัฐ (la sécurité nationale) ความปลอดภัยของประชาชน
               (la sûreté publique) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (le bien-être économique du pays)

               การรักษาความสงบเรียบรอย (la défense de l’ordre) และการปองกันการกระทําความผิดทางอาญา

               (la prévention des infractions pénales) การคุมครองสุขภาพหรือจิตใจ (la protection de la santé ou de
               la morale) หรือการคุมครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น (la protection des droits et libertés d’autrui)
                                การดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐอันมีผลเปนการแทรกแซงการใชสิทธิในชีวิตสวนตัว

               ของบุคคลจะกระทําไดก็ตอเมื่อเปนไปเพื่อวัตถุประสงคอันเปนประโยชนสาธารณะประการหนึ่งประการใด

               ดังที่ไดกลาวแลวขางตนเทานั้น จึงจะถือวาการดําเนินมาตรการนั้นมีวัตถุประสงคอันชอบดวยกฎหมายและ
               เปนการกระทําอันชอบดวยกฎหมาย ในทางกลับกัน หากการดําเนินมาตรการขององคกรของรัฐมิไดเปนไปเพื่อ
               วัตถุประสงคประการใดประการหนึ่งดังกลาวขางตน การดําเนินมาตรการเชนนั้นยอมเปนการแทรกแซงสิทธิในชีวิต

               สวนตัวของบุคคลโดยไมชอบดวยกฎหมายและมิอาจกระทําได องคกรของรัฐที่ดําเนินมาตรการดังกลาวยอมมี

               ความรับผิดตอบุคคลผูทรงสิทธิในชีวิตสวนตัวเมื่อเกิดความเสียหายอยางใด ๆ จากการดําเนินมาตรการเชนนั้น
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47