Page 41 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 41

26     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                         2)  เงื่อนไขเกี่ยวกับการกระทําขององคกรของรัฐอันเปนการแทรกแซง สิทธิในชีวิตสวนตัว
              ของบุคคล
                             การดําเนินมาตรการของเจาหนาที่ของรัฐหรือองคกรของรัฐอันมีผลเปนการแทรกแซง

              สิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลจะถือเปนการกระทําที่ชอบดวยกฎหมายอันเขาขอยกเวนตามนัยแหงวรรคสอง

              ของขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานไดนั้น การดําเนิน
              มาตรการนั้นจะตองเปนไปตามเงื่อนไขสําคัญ 3 ประการ ไดแก (1) การดําเนินมาตรการอันเปนการแทรกแซงนั้น
              มีกฎหมายบัญญัติใหกระทําได (2) การดําเนินมาตรการนั้นเปนไปเพื่อวัตถุประสงคอันเปนประโยชนสาธารณะ

              อยางหนึ่งอยางใดตามที่กําหนดไวและ (3) การดําเนินมาตรการนั้นเปนสิ่งจําเปนในสังคมประชาธิปไตย

              และไดสัดสวนกับวัตถุประสงคอันเกี่ยวดวยประโยชนสาธารณะที่มุงหมายนั้น
                             (1)  การดําเนินมาตรการอันเปนการแทรกแซงนั้นมีกฎหมายบัญญัติใหกระทําได
                                 การดําเนินมาตรการโดยองคกรของรัฐอันเปนการแทรกแซงการใชสิทธิในชีวิตสวนตัว

              ของบุคคลจะตองมีกฎหมายบัญญัติไดกระทําเชนนั้นได และดําเนินการไดในขอบเขตและโดยวิธีการเพียงเทาที่

              กฎหมายกําหนดไวเทานั้น ดังที่บัญญัติไวในวรรคสองของขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิ
              มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ความวา “การแทรกแซงขององคกรของรัฐในการใชสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล
              จะกระทําไดก็เฉพาะตอเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไวเทานั้น...” 28

                                 จากบทบัญญัติดังกลาว การดําเนินมาตรการอันมีผลเปนการแทรกแซงการใชสิทธิในชีวิต

              สวนตัวของบุคคลจะกระทําไดก็เฉพาะแตโดยองคกรของรัฐ และกระทําไดก็ตอเมื่อมีกฎหมายบัญญัติใหกระทํา
              ไดเทานั้น เงื่อนไขดังกลาวมีขอสังเกตบางประการ คือ
                                 ประการที่หนึ่ง คําวา “กฎหมาย” ในที่นี้ ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนมิไดหมายความถึง

              กฎหมายในระดับรัฐบัญญัติ (un texte nécessairement legislative) ที่เปนวัตถุแหงการรองเรียน เนื่องจาก

              กําหนดบทบัญญัติที่เปนการแทรกแซงสิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคลที่ไดรับการรับรองและคุมครองโดยอนุสัญญา
              แหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยมิชอบ หากแตศาลมุงเนนที่ “ความเปน
              อิสระ” (autonome) ของกฎเกณฑที่เกี่ยวของนั้นโดยนัยดังกลาว ศาลหมายความรวมถึงกฎระเบียบตาง ๆ

              (les règlements) ตลอดจนคําพิพากษา (la jurisprudence) และ la Common law ดวย

                                 ประการที่สอง บทบัญญัติดังกลาวมีเจตนารมณสําคัญสองประการกลาวคือ การที่มีกฎหมาย
              กําหนดการดําเนินมาตรการใด ๆ ขององคกรของรัฐ ยอมแสดงใหเห็นวาบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวของยอมสามารถ
              ที่จะตรวจดูหรือรับทราบขอมูลตาง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายนั้นได (l’accessibilité) กลาวอีกนัยหนึ่ง บุคคลสามารถ

              ที่จะรับรูเกี่ยวกับกฎหมายหรือหลักเกณฑทางกฎหมายที่จะใชบังคับกับตนได อีกทั้งยังสามารถที่จะคาดเห็นได

              ลวงหนาอยางเพียงพอ (la prévisibilité) ถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้นแกตนจากการใชบังคับกฎหมายนั้น กลาวอีก
              นัยหนึ่ง บทบัญญัติขางตนมุงเนนที่ความสามารถของบุคคลที่เกี่ยวของในการเขาถึงหรือรับรูได และบุคคล






              28  Art. 8 al. 2 ¨Il ne peut y avoir ingérence de l’autorité publique dans l’exercice de ce droit que pour autant
                que cette ingérence est prévue par la loi…”
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46