Page 40 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 40

รายงานการศึกษาวิจัย  25
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





               และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งบัญญัติวา “บุคคลทุกคนซึ่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของตนไดรับการคุมครอง
               ตามอนุสัญญาฉบับนี้ถูกลวงละเมิด มีสิทธิที่จะฟองคดีตอศาลแหงรัฐของตน แมวาการลวงละเมิดนั้นจะกระทําขึ้น
                                                  23
               โดยบุคคลซึ่งปฏิบัติหนาที่ของตนก็ตาม”  โดยนัยเชนนี้ จึงตองตีความวาการแทรกแซงหรือลวงละเมิดสิทธิ
               หรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเอกชนคนหนึ่งโดยเอกชนอีกคนหนึ่งยอมจะกระทํามิไดยิ่งกวา ดังนั้น นอกจากรัฐภาคี

               แหงอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานจะมีหนาที่ที่จะตองเคารพ
               สิทธิตาง ๆ ที่ไดรับการคุมครองไวในอนุสัญญาแลว โดยจะตองไมกระทําการใด ๆ อันเปนการแทรกแซงหรือลวงละเมิด
               สิทธิในชีวิตสวนตัวของบุคคล (une obligation négative) แลว รัฐภาคียังมีหนาที่ที่จะตองดําเนินการใหปจเจกชน

               ทุกคนที่อยูภายใตอํานาจแหงรัฐของตนเคารพตอสิทธิดังกลาวดวยเชนกัน (une obligation positive)
                                                                                                           24
               ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนไดรับรองแนวความเห็นดังกลาวไวอยางชัดแจงในหลายคดี โดยเฉพาะอยางยิ่ง
                                         25
               ในคดี Marckx c/Belgique  ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนไดรับรองการดํารงอยูของสิทธิของบุคคล
               ที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวและชีวิตครอบครัวในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน และในคดี

               X. et Y. c/Pays-Bas  ศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชนไดยืนยันหลักการตีความอยางกวางเกี่ยวกับสิทธิของบุคคล
                                 26
               ที่จะไดรับการเคารพในชีวิตสวนตัวของตน โดยศาลไดยํ้าเตือนวาหากขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปฯ มีเจตนารมณ
               สําคัญเพื่อคุมครองเอกชนตอการถูกแทรกแซงตามอําเภอใจขององคกรของรัฐ บทบัญญัติดังกลาวมิไดจํากัด
               ขอบเขตอยูแตเพียงการกําหนดหามมิใหรัฐภาคีกระทําการแทรกแซงเชนนั้นอันเปนขอผูกพันที่จะไมกระทําการ

               (un engagement négatif) แตเพียงอยางเดียวเทานั้น รัฐภาคียังมีหนาที่จะตองดําเนินมาตรการที่เหมาะสม

               (des obligations positives) เพื่อใหสิทธิของบุคคลในชีวิตสวนตัวและในชีวิตครอบครัวไดรับการเคารพ
                                27
               อยางแทจริงอีกดวย  ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการกําหนดมาตรการที่มุงหมายใหสิทธิดังกลาวของบุคคลไดรับ
               การเคารพแมในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันเอง มาตรการเชนนั้นมิไดจํากัดแตเพียงมาตรการคุมครอง

               ทางแพง (des mesures civiles) แตเพียงอยางเดียว หากแตควรจะครอบคลุมไปถึงการกําหนดบทลงโทษ

               ทางอาญา (des infractions pénales) สําหรับการกอใหเกิดความเสียหายที่รายแรง ตอสิทธิเสรีภาพในชีวิตสวนตัว
               ของบุคคลดวย โดยเฉพาะอยางยิ่งการกอใหเกิดความเสียหายตอสิทธิเสรีภาพในความสัมพันธทางเพศ
               (les atteintes à la liberté des relations sexuelles)




               23  Article 13 « Toute personne dont les droits et libertés reconnus dans  la présente Convention ont été violés,
                 a droit à l’octroi d’un recours effectif devant une instance nationale, alors même que la violation aurait été
                 commise par des personnes agissant dans l’exercice de leurs fonctions officielles. »
               24  M.-A. EISSEN, La Convention et les devoirs de l’individu dans la protection internationale des droits
                 de l’homme dans le cadre européen, 1967, p. 176-177.
               25  Arrêt Marckx c/Belgique du 13 juin 1979, N° 31de la série A des publications de la Cour, ใน www.coe.int
                 และใน Olivier de Schutter and Sébastien Van Drooghenbroeck, Droit international des droits de l’homme
                 devant la juge national, Collection Les grands arrêts de la jurisprudence beldge, De Boeck et Larcier
                s.a.Bruxelles, 1999.
               26  rrêt X. et Y. c/Pays-Bas du 26 mars 1985, de la série A, N° 91de la série A des publications de la Cour. V. G.
                 COHEN-JONATHAN, La Convention européenne des droits de l’homme, p. 373.
               27  Arrêt Airey du 9 octobre 1979, Volume n° 32 de la série A, p. 17.
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45