Page 47 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 47
๓.๒.๒) ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๐๒ และร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๗ ที่กำาหนดให้อธิบดีหรือผู้ซึ่ง
อธิบดีมอบหมาย มีอำานาจต่างๆ หากเป็นการตรวจสอบทะเบียน
สมาชิกเห็นว่าไม่ควรกระทำา หากเป็นการขอให้ส่งรายงานการเงินซึ่ง
มีการรับรองแล้ว หรือกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตขององค์การ
ก็อยู่ในวิสัยที่ตรวจสอบได้ ซึ่งควรมีบทบัญญัติจำากัดการใช้ดุลพินิจ
ของเจ้าหน้าที่ และให้มีหมายค้นหรือคำาสั่งศาลด้วย
๓.๒.๓) ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๑ และมาตรา ๑๐๓ และร่างพระราช-
บัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๘ ที่ให้การสั่งให้
กรรมการหรือคณะกรรมการของสมาคมนายจ้างหรือสหภาพแรงงาน
ออกจากตำาแหน่งได้ เมื่อปรากฏว่า (๑) กระทำาการอันมิชอบด้วย
กฎหมายซึ่งเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของพนักงาน
ประนอมข้อพิพาท ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือคณะกรรมการ
แรงงานสัมพันธ์ (๒) ดำาเนินกิจการไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของ
สมาคมนายจ้างอันเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคง
ของประเทศ (๓) ให้หรือยินยอมให้ผู้ใดซึ่งมิใช่กรรมการเป็นผู้ดำาเนิน
กิจการของสมาคมนายจ้าง/สหภาพแรงงาน อาจขัดต่ออนุสัญญา
ฉบับที่ ๘๗ การให้ออกจากตำาแหน่งควรเป็นคำาตัดสินของศาล
๓.๒.๔) ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๓ กำาหนดให้เฉพาะสหพันธ์แรงงาน
รัฐวิสาหกิจไม่รวมสหภาพแรงงานเข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์การ
ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ได้เป็นการห้ามการเข้าร่วม
เป็นสมาชิกองค์การที่มีระดับสูงกว่า จึงน่าจะขัดกับอนุสัญญา ฯ
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 45
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว