Page 49 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 49
(In Good Faith) ส่งเสริมให้เกิดการร่วมเจรจาต่อรองโดยสมัครใจ
๓.๓) สำาหรับบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัติ
๒ ฉบับ ในเรื่องการคัดเลือกคณะกรรมการ (ร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๙ และมาตรา ๘๙) การออก
ข้อบังคับขององค์การ (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ....
มาตรา ๖๗ และมาตรา ๙๙) เห็นว่า ไม่ขัดกับอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗
ส่วนการตัดขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีออก โดยให้มีสิทธินำาคดี
ไปสู่ศาลแทน (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๒
และมาตรา ๑๐๔) เห็นว่า ควรคงให้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ หาก
ไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ต่อศาล และกรณีให้อธิบดียื่นคำาร้องต่อศาล
แรงงานเพื่อสั่งเลิกสมาคมนายจ้าง (ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. .... มาตรา ๘๐ และมาตรา ๘๑ และร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๖๘ และมาตรา ๖๙) เห็นว่า
สามารถกระทำาได้เพราะลูกจ้างสามารถอุทธรณ์ได้ นอกจากนี้ การไม่มี
บทบัญญัติให้สหภาพ สหพันธ์แรงงานจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างและ
ไม่มีบทบัญญัติให้สหภาพแรงงานเอกชนและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สามารถรวมตัวกัน หากทางปฏิบัติสามารถทำาได้ ก็ไม่ขัดกับอนุสัญญา ฯ
๔.๓.๔ ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์ประจำา
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการใน
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อแนะ
(Members of Committee of Experts on the Application
of Conventions and Recommendations) ของ
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ สำานักงานคณะกรรมการ
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 47
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว