Page 51 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 51

๒)  ประเด็นที่กฎหมายไทยยังไม่สอดคล้องกับ
               อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ คือ การจำากัดเสรีภาพ
               ในการสมาคม และสิทธิในการรวมตัวของกลุ่มของคนที่ไม่มี

               สัญชาติไทย  การกำาหนดอายุขั้นต่ำาของผู้ที่สามารถเข้าเป็นสมาชิก
               สหภาพแรงงาน (๑๕ ปี) ซึ่งยังมีข้อจำากัดในทางปฏิบัติ  สิทธิในการ
               รวมตัวของข้าราชการซึ่งยังไม่มีกฎหมายมารองรับ  และทางปฏิบัติ

               ข้าราชการยังคงเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว สิทธิในการรวมตัวและ
               นัดหยุดงานพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งต้องมีสิทธิได้อย่างเต็มที่ ยกเว้น
               ในกรณีที่ทำางานบริการสาธารณะที่จำาเป็นยิ่ง (Essential Service)

               แต่ มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
               ได้ห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานอย่างเด็ดขาด การกำาหนด
               ประเภทบริการสาธารณะที่จำาเป็นยิ่งในประเทศไทยยังคงมีแนวคิด

               ในเรื่องนี้ไม่ชัดเจน  และยังมีการตีความที่แตกต่างจากองค์การแรงงาน
               ระหว่างประเทศ กล่าวคือ บริการการท่าเรือ การรถไฟ องค์การแรงงาน

               ระหว่างประเทศเห็นว่าไม่ใช่บริการสาธารณะที่จำาเป็นยิ่ง (Essential
               Service)  ถ้าต่อรองกันเพื่อเรียกร้องเงื่อนไขในการทำางานแล้ว
               ไม่สามารถตกลงกันได้ ไม่ควรบังคับให้เจรจาต่อรองกับฝ่ายที่สาม
               ข้อยกเว้นความมั่นคง มีกฎหมายเฉพาะอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติ

               กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชกำาหนดการบริหาร
               ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ พระราชบัญญัติการรักษา

               ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ กฎหมายอาญาจึง
               ไม่จำาเป็นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายแรงงาน











                                    และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 49
                      การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56