Page 44 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 44
ความเสียหายต่อกิจการของนายจ้างเท่านั้น ซึ่งการบัญญัติกฎหมาย
เช่นนี้ขัดต่อสิทธิในการเจรจาต่อรอง
๒.๕.๑๑) กรณีร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๙ ที่กำาหนดให้การนัดหยุดงาน
หากเป็นงานที่เป็นบริการสาธารณะตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนด
ในราชกิจจานุเบกษา ฝ่ายที่นัดหยุดงานต้องจัดให้มีบริการขั้นต่ำาเท่าที่
จำาเป็นเพื่อบรรเทาความเสียหายหรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาก
การนัดหยุดงาน เป็นการกำาหนดเงื่อนไขที่สอดคล้องกับอนุสัญญา
๒.๕.๑๒) กรณีร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๒ มีบทบัญญัติที่ห้ามนายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง
ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำา
การใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำางานอยู่
ต่อไปได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เห็นควรมีบทบัญญัติ
เช่นนี้ต่อกรณีของกรรมการสหภาพแรงงานด้วย
๒.๖) กฎหมายแรงงานของประเทศไทย
แยกออกเป็น ๒ ฉบับ เพื่อใช้กับแรงงานภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ
และกำาลังจะมีเพิ่มอีก ๑ ฉบับ สำาหรับบังคับใช้กับข้าราชการ ซึ่งเห็นว่า
สามารถใช้กฎหมายฉบับเดียวแล้วค่อยแบ่งเป็นหมวดหมู่สำาหรับ
คนทำางานแต่ละกลุ่ม ขณะนี้ องค์การพัฒนาเอกชนด้านแรงงานได้ไป
ยื่นหนังสือต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อขอให้ระงับการแก้ไข
ปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ และร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ เพราะยังไม่ได้มีการทำาประชาพิจารณ์
และได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับบูรณาการ
แรงงาน) แล้ว
42 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน