Page 46 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 46
องค์กรนายจ้างหรือลูกจ้าง ถ้าประเทศไทยมีกฎหมายภายในที่เทียบได้
กับอนุสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว ก็ไม่จำาเป็นต้องเข้าเป็นภาคี เช่น
สหรัฐอเมริกาซึ่งมีกฎหมายภายในที่ให้สิทธิมากกว่าอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับอยู่แล้วสิ่งที่ประเทศไทยกังวล คือ การใช้สิทธินัดหยุดงาน
และการจัดกิจกรรมขององค์กรลูกจ้างและนายจ้างนั้น เห็นว่า
การใช้สิทธินัดหยุดงานไม่ใช่สิทธิเด็ดขาด ในบางอาชีพ เช่น ตำารวจ
สามารถห้ามไม่ให้นัดหยุดงานได้แต่ต้องมีกลไกในการแก้ไขข้อขัดแย้ง
ในทันที และไม่น้อยกว่ากลไกที่ใช้กับแรงงานภาคเอกชน
คณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพของการสมาคม (Committee
on Freedom of Association : CFA) เห็นว่ากรณีที่มีการประกาศ
กฎอัยการศึก หรือสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถห้ามนัดหยุดงานได้
แต่ต้องกำาหนดเวลาและพื้นที่แน่นอน ส่วนการจัดกิจกรรมขององค์กร
ลูกจ้างและนายจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีหลักการ
การจัดกิจกรรมขององค์กรดังกล่าวเพื่อประโยชน์นายจ้างและลูกจ้าง
การห้ามจัดกิจกรรมถือว่าละเมิดต่ออนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗
และเห็นว่าประเทศไทยอาจเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๙๘ ซึ่งเน้นเรื่องการเจรจาต่อรองก่อน
เนื่องจากมีกฎหมายภายในรองรับ
๓.๒) ควรชะลอการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. .... เนื่องจากยังมีหลายประเด็นที่ยังไม่สอดคล้องกับ
อนุสัญญา ฯ ทั้งสองฉบับ ดังนี้
๓.๒.๑) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ
ใช้คำาว่า “ลูกจ้าง” และได้ให้นิยามว่าหมายถึง ผู้ซึ่งตกลงทำางานให้แก่
นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง ซึ่งขัดกับอนุสัญญา ฯ ฉบับที่ ๘๗ ซึ่งให้สิทธิ
คนทำางาน รวมถึงคนทำางานอาชีพอิสระ โดยปราศจากข้อแตกต่างใดๆ
44 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน