Page 50 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 50
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดสัมมนาและแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่อง
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอนุสัญญา
ILO ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครอง
สิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและ
การร่วมเจรจาต่อรอง ซึ่งศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ได้ให้ความเห็น
ต่อความสอดคล้องระหว่างอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับกับกฎหมาย
แรงงานสัมพันธ์ของไทย ดังนี้
๑) เมื่อพิจารณาความสอดคล้องระหว่างอนุสัญญา
ILO ทั้งสองฉบับ และกฎหมายด้านแรงงานของประเทศไทย ได้แก่
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ มีประเด็น ดังนี้
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่ยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา เช่น มาตรา ๘๘ ที่กำาหนด
ให้ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานต้องมีสัญชาติไทย มาตรา ๑๐๑
กำาหนดให้กรรมการสหภาพแรงงานต้องเป็นสมาชิกของสหภาพ
แรงงานนั้น มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำากว่ายี่สิบปี
มาตรา ๑๓๑ และมาตรา ๑๓๓ ซึ่งเป็นบทกำาหนดโทษทางอาญา
ส่วนบทบัญญัติ ของพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๓ ที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา เช่น มาตรา ๓๓ ที่กำาหนด
ห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน มาตรา ๔๑ ที่กำาหนด
บุคคลที่มีสิทธิรวมตัวจัดตั้งสหภาพแรงงานคือเป็นลูกจ้างใน
รัฐวิสาหกิจเดียวกันที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหาร เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
มีสัญชาติไทย มาตรา ๗๗ ที่กำาหนดว่า ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา ๓๓
ต้องระวางโทษจำาคุก... ซึ่งตามอนุสัญญาก็มีหลักว่าต้องไม่ใช้
โทษทางอาญาเพื่อลงโทษเกี่ยวกับแรงงาน
48 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน