Page 48 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 48
๓.๒.๕) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ
ได้ให้อำานาจรัฐมนตรีสั่งให้คณะกรรมการดำาเนินการชี้ขาดข้อพิพาท
แรงงานวินิจฉัยกรณีการปิดงานหรือการนัดหยุดงานที่อาจทำาให้เกิด
ความเสียหายแก่เศรษฐกิจของประเทศ หรืออาจก่อให้เกิดความ
เดือดร้อนแก่ประชาชน หรืออาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำาชี้ขาดของ
คณะกรรมการฯให้เป็นที่สุด เป็นบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับ
อนุสัญญา ฯ เนื่องจากการวินิจฉัยข้อพิพาทแรงงานควรอยู่บนหลักการ
เห็นพ้องกันของคู่กรณี
๓.๒.๖) ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๙ ที่กำาหนดให้การนัดหยุดงาน
ที่เป็นบริการสาธารณะตามที่คณะกรรมการประกาศกำาหนดใน
ราชกิจจานุเบกษา ฝ่ายที่นัดหยุดงานต้องจัดให้มีบริการขั้นต่ำา
(Minimum Service) เท่าที่จำาเป็น เห็นว่า ต้องเป็นบริการขั้นต่ำาจริงๆ
และเป็นกรณีที่คู่กรณีตกลงกัน
๓.๒.๗) ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ
มีบทบัญญัติคุ้มครองผู้จัดตั้งสหภาพแรงงานจากการถูกแทรกแซง
โดยนายจ้าง องค์การนายจ้าง ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติ เช่น เงื่อนไขที่
ห้ามไม่ให้นายจ้างหรือองค์การนายจ้างกำากับองค์การลูกจ้าง ข้อห้าม
นายจ้าง องค์การนายจ้างสนับสนุนทางการเงินหรืออื่นๆ แก่องค์การ
ลูกจ้าง โดยมีเจตนาเพื่อให้ครอบงำาองค์การลูกจ้าง การให้ผู้ใช้แรงงาน
ทุกประเภทมีสิทธิร่วมเจรจาต่อรอง โดยอาจยกเว้นเฉพาะทหาร หรือ
ตำารวจ หรือข้าราชการซึ่งปฏิบัติงานในนามของรัฐ เพิ่มประเด็น
การเจรจาต่อรองที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์การนายจ้าง
ลูกจ้าง กำาหนดเงื่อนไขเพื่อให้การร่วมเจรจาต่อรองด้วยความสุจริตใจ
46 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน