Page 33 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 33
หนังสือสัญญา ดังนั้น การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ นี้จะต้องได้รับ
ความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
๔.๓.๒ การรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน
๑) ผู้แทนของสภาองค์การนายจ้างแห่ง
ประเทศไทย สภาหอการค้าไทย (สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง) และ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประเทศไทยควรแก้ไขกฎหมายภายในก่อนเข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญา ฯ ส่วนร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และ
ร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่าง
การพิจารณาของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังรองรับอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับไม่ครบถ้วน ลูกจ้างที่มีสิทธิตามอนุสัญญาควรเป็นแรงงาน
ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การให้แรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครอง
ตามอนุสัญญา ILO และกฎหมายภายในที่กำาลังแก้ไขควรพิจารณา
ให้รอบด้าน
๒) ผู้แทนของสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่ง
ประเทศไทย
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ ก่อนหรือจะแก้ไข
กฎหมายเพื่อรองรับอนุสัญญา ฯ ก่อน ไม่มีความสำาคัญ สิ่งสำาคัญคือ
การดำาเนินการให้สอดคล้องกับอนุสัญญา ฯ ปัจจุบันมีกฎหมาย
หลายฉบับที่มีแนวปฏิบัติด้านแรงงานสัมพันธ์ที่แตกต่างกันระหว่าง
ลูกจ้างแต่ละอาชีพ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้าง
ภาคเอกชน และเห็นว่าลูกจ้างภาคเอกชน และลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจ
ควรอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์คนละฉบับ
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 31
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว