Page 29 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 29
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. .... เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตามร่างกฎหมายได้ยกเลิกเงื่อนไขว่า
ให้ผู้มีสัญชาติไทยจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ออกไปแล้ว ส่วนการ
จะเข้าเป็นภาคีก่อนหรือจะแก้ไขกฎหมายภายในก่อนนั้น ที่ผ่านมา
ประเทศไทยดำาเนินการทั้งสองแนวทางขึ้นอยู่กับผลกระทบหรือ
ผลประโยชน์ของประเทศ นอกจากนี้ หลังจากเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ
ประเทศไทยมีระยะเวลาประมาณ ๒ ปี ในการดำาเนินการให้สอดคล้อง
ตามอนุสัญญา
๔) ผู้แทนของสำานักงานอัยการสูงสุด
เห็นด้วยกับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ เนื่องจาก
จะผลักดันให้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการรับรองและคุ้มครองสิทธิของ
ประชาชนมากขึ้น ส่วนข้อกังวลที่ว่าหากเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ แล้ว
ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบนั้น เห็นว่า การได้รับ
ผลกระทบมักจะเกิดจากการที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่
ให้มีประสิทธิภาพ มิใช่เป็นเพราะไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาที่เข้าเป็น
ภาคี การที่ประเทศไทยกำาหนดเงื่อนไขให้แรงงานข้ามชาติต้องพิสูจน์
สัญชาติทั้งที่มีใบอนุญาตทำางานแล้ว เป็นเงื่อนไขที่ทำาให้เกิด
การคอร์รัปชัน แรงงานเหล่านี้จะถูกนายหน้าเรียกรับเงิน หากแรงงาน
ได้รับอนุญาตเข้ามาทำางานเรียบร้อยแล้ว พวกนี้น่าจะอยู่ในกลุ่มที่มี
สิทธิตั้งสหภาพแรงงานได้ สำาหรับแรงงานนอกระบบ กระทรวง
แรงงานควรหาทางจัดให้เข้าระบบทั้งหมด โดยอาจใช้วิธีการทำาข้อตกลง
ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้าน
สำาหรับสิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพของข้าราชการ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น สำานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 27
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว