Page 38 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 38
๑.๘) ในเรื่องการจดทะเบียน ควรจะเปลี่ยน
เป็นการจดแจ้ง โดยอาจจะกำาหนดสิทธิประโยชน์ที่ได้จากการจดแจ้ง
ซึ่งต้องเปลี่ยนกรอบความคิดจากการควบคุมเป็นการส่งเสริม
ส่วนข้อกำาหนดเรื่องสัญชาติของคนทำางานต้องกำาหนดให้แรงงาน
ไม่ว่าจะสัญชาติใด มีสิทธิในการรวมตัว เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
หากเป็นคนทำางานต้องมีสิทธิในการรวมตัว
๒) นายชาลี ลอยสูง (คณะกรรมการสมานฉันท์
แรงงานไทย) ให้ความเห็น ดังนี้
๒.๑) กระทรวงแรงงาน (กรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงาน) ได้พยายามผลักดันในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำาแรงงาน
นายจ้าง ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการมาเป็นระยะ ล่าสุดทราบว่า
จะประมวลเป็นข้อมูลเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยคาดว่าจะดำาเนินการ
แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ นอกจากนี้ ตามรายงาน
สถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาประจำาปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้
ลดลำาดับประเทศไทยจาก Tier 2 เฝ้าระวัง เป็น Tier 3 ซึ่งส่วนหนึ่ง
เป็นผลจากผู้แทนประเทศไทยออกเสียงไม่เห็นด้วยกับส่วนเสริม
ของอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานบังคับ
พ.ศ. ๒๔๗๓ (ค.ศ. ๑๙๓๐) (ฉบับที่ ๒๙) ในการประชุมแรงงานระหว่าง
ประเทศ สมัยที่ ๑๐๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗) ทำาให้สิทธิที่ประเทศไทยเคยได้มา
จากระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized
System of Preferences : GSP) จากสหภาพยุโรปถูกระงับ
ต่อมา รัฐบาลไทยได้แจ้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่า จะเข้าเป็น
36 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน