Page 30 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 30
ไม่ควรกำาหนดให้เฉพาะข้าราชการพลเรือนเท่านั้น ควรรวมถึงข้าราชการ
ประเภทอื่นซึ่งมีอยู่เป็นจำานวนมากด้วย
๕) ผู้แทนของสำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ในปี ๒๕๕๖ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) อนุมัติ
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ แต่
เนื่องจากมีหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ๔ แห่ง
คือ กระทรวงการต่างประเทศ สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแล
สำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานไปจัดประชุมหารือกับส่วนราชการดังกล่าวอีกครั้ง
ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้จัดประชุมเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖
ทั้ง ๔ หน่วยงานยังยืนยันความเห็นเดิม ขณะนี้ (วันที่ ๕ สิงหาคม
๒๕๕๗) ร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์สองฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณา
ของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงควรแก้ไขกฎหมายภายใน
ให้เสร็จก่อน
อย่างไรก็ตาม หากกระทรวงแรงงานยืนยันว่า
ควรเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติในขณะนั้น ให้เข้าเป็นภาคี
อนุสัญญาดังกล่าว ก็ควรระบุว่าครอบคลุมลูกจ้าง คนทำางานกลุ่มใด
เช่น แรงงานที่มีสัญชาติไทย ซึ่งสำานักงานฯ ไม่มีข้อขัดข้อง หรือ
แรงงานข้ามชาติ ซึ่งสำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีข้อกังวลว่า
แรงงานประเภทหลังแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ แรงงานข้ามชาติในระบบ
ผ่อนผัน ตามมาตรา ๑๗ ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
28 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน