Page 37 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 37
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๔๘ ชั่วโมง
เพื่อจะให้ผู้ใช้บริการเตรียมไปใช้การเดินทางในทางอื่นหรือองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้เตรียมการแก้ปัญหาล่วงหน้า ระหว่างนั้น
ให้มีกลไกเจรจาต่อรอง
๑.๕) สำาหรับการห้ามนัดหยุดงานหลายประเทศ
กำาหนดให้ใช้เฉพาะในกิจการที่เป็นการบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับ
ชีวิตและสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง เช่น กิจการสถานพยาบาล
กิจการไฟฟ้า กิจการประปา กิจการที่เกี่ยวข้องกับการจราจรทางอากาศ
แต่ต้องมีกลไกวินิจฉัยข้อเรียกร้อง ส่วนกฎหมายแรงงานของ
ประเทศไทยบัญญัติห้ามการนัดหยุดงานในรัฐวิสาหกิจ และให้มีกลไก
เจรจาต่อรอง
๑.๖) อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๙๘ ข้อ ๕ กำาหนดว่า
ขอบเขตที่เป็นหลักประกันตามอนุสัญญานี้ ในการใช้บังคับกับ
กองกำาลังทหารและตำารวจต้องกำาหนดไว้ในกฎหมายหรือข้อบังคับ
ทหารและตำารวจ ในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลและ
รักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศหรือสังคม (ผู้ถืออาวุธ) ไม่รวม
เจ้าหน้าที่หรือตำารวจอื่น โดยหลักการเจ้าหน้าที่ตำารวจที่ไม่ถืออาวุธ
ข้าราชการ มีสิทธิในการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง ส่วนเจ้าหน้าที่
ตำารวจและทหารที่ถืออาวุธ รัฐต้องจัดให้มีคณะกรรมการพิจารณา
ข้อเรียกร้องดังกล่าวซึ่งต้องมีความเป็นอิสระในการวินิจฉัยข้อเรียกร้อง
๑.๗) ส่วนข้อกังวลว่า แรงงานข้ามชาติจะมี
สิทธิในการจัดตั้งสหภาพหรือการรวมตัวมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่
กับนโยบายของรัฐ ไม่ใช่ข้อจำากัดตามอนุสัญญาฯ ฉบับที่ ๘๗ หรือ
ฉบับที่ ๙๘ แต่อนุสัญญาฯ จะเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 35
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว