Page 25 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 25
๔.๓ การรับฟังความเห็นจากภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และ
ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอ
ในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ได้รับฟังข้อมูลและความเห็นเรื่องการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
องค์การแรงงานระหว่างประเทศดังกล่าว จากภาครัฐ ภาคเอกชน
นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน ทั้งหมด ๔ ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑
เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗
ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๓
มีนาคม ๒๕๕๘ มีสาระสำาคัญโดยสรุปดังนี้
๔.๓.๑ การรับฟังความเห็นจากภาครัฐ
๑) ผู้แทนของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
๑.๑) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้
เตรียมการรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ โดยดำาเนินการ
ควบคู่กับการแก้ไขกฎหมายภายในสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ให้อนุวัติตามอนุสัญญานี้
๑.๒) ปี ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. .... พร้อมกับอนุมัติการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ และเสนอเรื่อง
การเข้าเป็นภาคีไปยังรัฐสภาเพื่อเห็นชอบแล้วขอถอนเรื่องในภายหลัง
และปี ๒๕๕๖ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติเห็นชอบ
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 23
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว