Page 27 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 27
๑.๔.๑) พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นการจัดระบบการรวมตัวเป็นองค์กรลูกจ้างและนายจ้าง
ให้เป็นระเบียบเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อ
รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็น
การจำากัดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และไม่ถือเป็นการแทรกแซง
ของรัฐตามอนุสัญญา ILO คนทำางานและลูกจ้างสามารถรวมตัวกัน
ในรูปแบบอื่นได้ตามหลักทั่วไปของสิทธิการรวมตัวของคนทำางานและ
ของประชาชน ซึ่งรัฐก็สามารถมีมาตรการ นโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อ
เป็นการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเป็นการเฉพาะอีกต่างหากได้
๑.๔.๒) ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๑๐๒ และร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๕๗ ให้อำานาจอธิบดีหรือผู้ซึ่ง
อธิบดีมอบหมาย (๑) เข้าไปในสำานักงานของสหภาพแรงงานในเวลา
ทำาการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของสหภาพ
แรงงาน (๒) ให้กรรมการ พนักงาน หรือลูกจ้างของสหภาพแรงงาน
ส่งหรือแสดงเอกสารหรือบัญชีของสหภาพแรงงานเพื่อประกอบ
การพิจารณากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น (๓) สอบถามบุคคลในข้อ (๒)
หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาเพื่อสอบถามหรือให้ชี้แจงข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการดำาเนินกิจการของสหภาพแรงงาน (สิทธิจัดระบบบริหารงาน
และกิจกรรม) อาจจะดูเหมือนขัดหรือไม่สอดคล้องต่ออนุสัญญา
แต่อธิบดีจะใช้อำานาจดังกล่าวเฉพาะเมื่อมีการร้องเรียน
๑.๔.๓) ร่างพระราชบัญญัติแรงงาน
สัมพันธ์ พ.ศ. .... มาตรา ๗๒ และมาตรา ๑๐๔ ตัดขั้นตอนการอุทธรณ์
ต่อรัฐมนตรีออก โดยให้มีสิทธินำาคดีไปสู่ศาลแทน เพราะต้องการลด
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 25
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว