Page 26 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 26
เรื่องการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ทั้งสองฉบับ ตามที่กระทรวง
แรงงานเสนอ และนำาเสนอรัฐสภา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเห็นควร
ให้แก้ไขกฎหมายก่อน ต่อมา มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในปี ๒๕๕๖
และมีรัฐประหารในปี ๒๕๕๗ การเสนอเรื่องการเข้าเป็นภาคีจึงเป็น
อันระงับไว้ ในปี ๒๕๕๗ สำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้
ตรวจร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ แล้วเสร็จ ปี ๒๕๕๘ กระทรวง
แรงงานได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา
ต่อไป ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติทั้งสองได้เสนอไปยังเลขาธิการ
คณะรัฐมนตรี แต่คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีหนังสือถึง
นายกรัฐมนตรี และนายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์
แรงงานไทยได้ยื่นหนังสือต่อสำานักนายกรัฐมนตรี ขอให้ชะลอเรื่องนี้
ไว้ก่อน
๑.๓) หลักการตามอนุสัญญา ILO ทั้ง ๒ ฉบับ
การรวมตัวของคนทำางานในรูปของสมาคม สมาพันธ์ สหกรณ์ ชมรม
จะมีกฎหมายรองรับหรือไม่มีก็ได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาและ
คุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์
อันดีระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ระหว่างองค์กร เพื่อส่งเสริมการศึกษา
และส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในการรวมตัวของคนทำางานข้างต้น
โดยห้ามรัฐเข้าไปจำากัดสิทธิการรวมตัวของคนทำางาน เว้นแต่ที่บัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายซึ่งต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็นและต้อง
ไม่กระทบถึงสาระสำาคัญแห่งสิทธิการรวมตัว
๑.๔) สำาหรับความเห็นต่อกฎหมายและร่าง
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ มีดังนี้
24 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน