Page 136 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 136

134   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  หลังการอบรม กลุ่มที่สนับสนุนหรือฝักใฝ่ฝ่ายก่อความไม่สงบ (มีชื่อในบัญชีดำา) แต่ไม่ได้กระทำาผิด

                  อาญาและไม่มีหมายจับ จะถูกควบคุมตัวให้เข้ารับการอบรม ๗ - ๑๐ วัน

                                   ๔.๓)  การใช้กำาลังทหารในการตอบโต้กับการก่อความไม่สงบ เช่น การเพิ่ม
                  กำาลังทหารในพื้นที่ การจัดให้มีอาสาสมัครฝ่ายพลเรือน การจัดให้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
                  (ชรบ.) และอาสาสมัครรักษาหมู่บ้าน (อรบ.) โดย ชรบ. หรือ อรบ. ที่ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ

                  ผู้ก่อความไม่สงบ และที่เป็น “สายข่าว” ให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งทราบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ มีโอกาส

                  ถูกบังคับให้สูญหาย

                               ๕)  ประเทศไทยใช้นโยบ�ยปร�บปร�มอย่�งรุนแรง ต่อความผิดด้านยาเสพติด
                  มาโดยตลอด และเข้มงวดมากยิ่งขึ้นเมื่อประกาศใช้นโยบาย “สงครามปราบปรามยาเสพติด” ใน

                  พ.ศ. ๒๕๔๖ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม ๒๕๔๖ มีรายงานว่า ชุมชนชาติพันธุ์ลาหู่
                  ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและทหารพรานควบคุมตัวโดยพลการ ถูกทรมาน ถูกสังหารนอกกระบวนการ
                                                   ๑๐๕
                  กฎหมายและบางคนถูกบังคับให้สูญหาย     นอกจากนี้ จากรายงานของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
                  วิธีการที่เจ้าหน้าที่ทหารหรือเจ้าพนักงานของรัฐใช้ คือ การไปจับกุมตัวคนจากหมู่บ้านหรือที่ทำางาน

                  (ไร่นา)แล้วนำามาควบคุมตัวในค่ายทหาร ระยะเวลาควบคุมตัว คือ ๔๕ - ๙๐ วัน  ช่วง ๗ วันแรก
                  ควบคุมตัวในหลุมลึก ๒ เมตร จากนั้นควบคุมตัวในอาคาร ระหว่างควบคุมใช้วิธีทรมานหลายรูปแบบ

                  เช่น ช็อตด้วยไฟฟ้า ตีด้วยกระบองเพื่อให้รับสารภาพ ซึ่งส่งผลให้ผู้ถูกควบคุมตัวบางคนเสียชีวิตได้

                               ๖)  คนกลุ่มอื่นที่เสี่ยงต่อก�รถูกบังคับให้เป็นบุคคลสูญห�ย ได้แก่
                                   ๖.๑)  คนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีความขัดแย้งส่วนตัวกับตำารวจ

                  ตัวอย่างเช่น เดือนมกราคม ๒๕๔๙ จังหวัดเชียงใหม่ นายพิชิต จะอื่อ นายจะก๊ะ จะอื่อ (สายตำารวจ)

                  นายจะก่า จะอื่อ น.ส.นาสี จะอื่อ และนายจะแต จะหา ถูกจับกุมระหว่างไปตลาด วันรุ่งขึ้นมีข่าวว่า
                  หน่วยงานด้านการปราบปรามยาเสพติดได้สั่งการให้ทหารและตำารวจสนธิกำาลังปราบปรามยาเสพติด
                  และมีการกล่าวหาว่าพ่อค้ายา (นายพิชิตฯ นายจะก๊ะฯ) ต่อสู้เจ้าหน้าที่และถูกยิงเสียชีวิต แต่สภาพ

                  ศพของทั้งสองคน คือ ถูกใส่กุญแจมือ เมื่อญาติถามถึงสถานที่ควบคุมตัวของอีกสามคนที่เหลือ
                                                 ๑๐๖
                  ซึ่งเป็นเยาวชน ก็ได้รับคำาตอบไม่ชัดเจน    เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐ จังหวัดยะลา นายมะยูนิต โลนียะ
                  ซึ่งเพิ่งเดินทางเข้าพื้นที่ หายตัวไปตอนสองทุ่ม วันที่หายตัวไปมี ชรบ. และนักการเมืองท้องถิ่นนำาตัว
                  ไปพบกำานันคนหนึ่ง มีรายงานว่านายมะยูนิตฯ ไม่ต้องการเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งระหว่างกำานัน
                                                     ๑๐๗
                  และผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้หายตัวไป






                  ๑๐๕  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕, หน้า ๒๕.
                  ๑๐๖  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๓๑.
                  ๑๐๗ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๓๒.
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141