Page 140 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 140

138    ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                         ๒.๑.๑)  ข้อ ๓๑ ยอมรับอำานาจของคณะกรรมการที่จะรับและพิจารณา

                  ข้อร้องเรียนในเขตอำานาจศาลตน จากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเหยื่อจากการละเมิดโดยประเทศเนเธอร์แลนด์
                                         ๒.๑.๒)  ข้อ ๓๒ ยอมรับอำานาจของคณะกรรมการที่จะรับและพิจารณา

                  คำาร้องจากรัฐภาคีหนึ่งว่าอีกรัฐภาคีหนึ่งมิได้ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ

                                   ๒.๒)  การอนุวัติกฎหมายภายใน ได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติ
                  อาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยเพิ่มนิยามการบังคับให้บุคคลสูญหาย กำาหนดให้การบังคับ

                  ให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดอาญาและเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ กำาหนดความรับผิดของ
                  ผู้บังคับบัญชา และแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Code of Criminal Procedure)
                                                      ๑๑๔
                  โดยกำาหนดบทลงโทษ ทั้งโทษจำาคุกและปรับ

                               ๓)  ประเทศอ�ร์เจนติน� ๑๑๕  (เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ
                  คุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐)


                                   ๓.๑)  คำาแถลงตีความ ประเทศอาร์เจนตินาได้ยอมรับอำานาจคณะกรรมการ
                  ตามมาตรา ๓๑ และ ๓๒ ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้
                  สูญหาย

                                   ๓.๒)  การอนุวัติกฎหมายภายใน ได้มีกฎหมายคุ้มครองพยานในคดีที่บุคคล

                  ถูกบังคับให้สูญหาย พยานประกอบด้วยญาติ ทนายความ แพทย์นิติเวช เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง

                               ๔)  ส�ธ�รณรัฐฟิลิปปินส์ (ยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
                  การคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย) ได้ออกพระราชบัญญัติต่อต้านการบังคับให้สูญหาย

                  หรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) (Anti – Enforced or Involuntary
                  Disappearances Act of 2012) ประกอบด้วยคำานิยามการบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือการสูญหาย

                  โดยไม่สมัครใจซึ่งสอดคล้องตามอนุสัญญาระหว่างประเทศนี้  การห้ามคุมขังในที่ลับ การเก็บทะเบียน
                  หรือประวัติของผู้ที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ การมอบหมายให้คณะกรรมการของรัฐบาลด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ๑๑๖
                  (Governmental Committee on Human Rights) ตรวจเยี่ยมสถานคุมขังได้







                  ๑๑๔  OHCHR, Report of the Kingdom of the Netherland submitted under article 29 paragraph 1 of CED,
                       2013,  www. ohchr.org/Documents/HRBodies/CED/SPReports/Report_art 29.1_Netherlands.pdf
                  ๑๑๕ สถาบันวิจัยและให้คำาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, ผลการศึกษา
                       มาตรการดำาเนินการรองรับการเข้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้
                       สูญหาย, ตุลาคม ๒๕๕๓, หน้า ๔.
                  ๑๑๖  Human Rights Watch, www.hrw.org/news/2012/12/21/philippines-milestone-law-criminalize-
                       forced-disappearance
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145