Page 134 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 134
132 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒.๒ ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๒.๒.๑ คำาร้องและข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย
๑) ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๖ (ณ วันที่ ๑๙ มิถุน�ยน ๒๕๕๖) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติได้รับคำาร้องเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย จำานวน ๑๑ คำาร้อง เป็นคำาร้องซึ่งเกิดขึ้น
ในภาคอื่น ๑ คำาร้อง คำาร้องที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำานวน ๙ คำาร้อง อีกหนึ่งคำาร้อง
๑๐๑
ไม่ระบุสถานที่เกิดเหตุ ตัวอย่างคำาร้องที่อยู่ในข่ายบุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับให้สูญหาย เช่น
๑.๑) คำาร้องที่ ๑๒๔/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๗ จังหวัดปัตตานี สามี
ของผู้ร้องและเพื่อนอีก ๒ คน ถูกกลุ่มบุคคลแต่งกายคล้ายทหารหรือตำารวจกว่า ๑๐ คน พร้อมอาวุธ
จับกุมตัวโดยบอกว่าจะนำาไปสอบสวนแล้วส่งกลับ แต่ไม่ได้กลับมาอีกเลย
๑.๒) คำาร้องที่ ๑๒๗/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๕ จังหวัดยะลา สามี
ของผู้ร้องและเพื่อนอีก ๒ คน เป็นสายให้ตำารวจ ถูกกล่าวหาว่ายิงตำารวจ จึงนั่งรถจักรยานยนต์ไปกับ
เพื่อนคนหนึ่ง และอีกคนขับรถตามไป วันรุ่งขึ้นได้รับทราบจากเพื่อนของสามีที่ขับรถตามไปว่าสามี
ของผู้ร้องและเพื่อนที่นั่งรถจักรยานยนต์ไปด้วยกันหายไป ต่อมาเพื่อนที่ขับรถตามไปถูกยิงเสียชีวิต
๑.๓) คำาร้องที่ ๖๖๖/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ จังหวัดยะลา สามี
ของผู้ร้อง ถูกเจ้าหน้าที่ทหารพราน ๕๐ คน จับกุมไปจากบ้านพัก พร้อมยึดรถยนต์กระบะ ๑ คัน
ปืนสั้นออโตเมติก ๑ กระบอก โทรศัพท์มือถือ ๑ เครื่อง โดยเจ้าหน้าที่ทหารแจ้งว่านำาตัวไปสอบสวนที่
ค่ายทหาร โรงเรียนบันนังสตาอินทรฉัตร แล้วหายตัวไป ผู้ร้องได้ไปสอบถามที่ค่ายดังกล่าวและค่ายอื่น
ในจังหวัดยะลาและจังหวัดปัตตานีก็ไม่พบ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าปล่อยตัวไปแล้ว แต่ไม่ให้ผู้ร้องดูเอกสาร
การปล่อยตัว
๒) เมื่อวันที่ ๑๒ มีน�คม ๒๕๔๗ นายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชน
ที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้หายตัวไป ต่อมา
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยอมรับว่านายสมชาย นีละไพจิตร เสียชีวิตแล้ว
และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคดีการหายตัวไปของนายสมชายฯ ไว้เป็นคดีพิเศษตั้งแต่วันที่ ๑๙
กรกฎาคม ๒๕๔๘ ปัจจุบันไม่มีความคืบหน้าในเรื่องนี้
๓) จ�กก�รศึกษ�ของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภ�พ อธิบายว่า ประเทศไทยมีข้อมูลการ
บังคับให้บุคคลสูญหายตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๙๐ โดยเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๕ นายเตียง ศิริขันธ์
๑๐๑ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำานักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, รายงานวิเคราะห์สถานการณ์
เกี่ยวกับคำาร้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้อนุสัญญา CAT และอนุสัญญาระหว่างประเทศ CED, พ.ศ.
๒๕๕๖,