Page 132 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 132
130 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(จ) มีอิสรภาพในการเลือกสถานที่ที่ต้องการเข้าเยี่ยมและบุคคลที่ต้องการ
สัมภาษณ์
(ฉ) สิทธิในการติดต่อกับคณะอนุกรรมการว่าด้วยการป้องกันการทรมานเพื่อ
ส่งข้อมูลให้และประชุมร่วมกัน
๑.๒.๔ ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ปัจจุบันคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติ
การยุทธศาสตร์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก
สตรี และความเสมอภาคของบุคคล คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และ
คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำาเนิน
การตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังประเภทต่างๆ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศเป็นระยะๆ อยู่แล้ว ดังนั้นหาก
รัฐบาลจะพิจารณามอบหมายให้ กสม. ทำาหน้าที่เป็นกลไกป้องกันระดับชาติตามพิธีสารเลือกรับฯ
(NPM) รัฐบาลต้องพิจารณาให้ กสม. มีอำานาจหน้าที่ตามที่กำาหนดไว้ในพิธีสารเลือกรับฯ โดยอาจ
บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้อยู่ใน
ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนิยามคำาว่า “สถานที่ลิดรอนเสรีภาพ” และ
อำานาจการตรวจเยี่ยมโดยไม่จำาต้องบอกกล่าวล่วงหน้า (unannounced visit) รวมถึงรัฐบาลต้อง
พิจารณาจัดสรรทรัพยากรที่จำาเป็นทั้งในแง่บุคลากรและงบประมาณอย่างเพียงพอแก่ กสม. เพื่อให้
สามารถดำาเนินงานในฐานะกลไกระดับชาติตามพิธีสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้รัฐบาล
ยังจำาเป็นต้องทบทวนกฎหมายภายในรวมถึงระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อให้กลไก
ป้องกันระดับชาติสามารถดำาเนินการตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังในประเทศทุกประเภทได้อย่างสอดคล้อง
กับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ