Page 137 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 137

135
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                      ๖.๒)  แรงงานข้ามชาติซึ่งถูกจำากัดเสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการตั้ง

                     สหภาพแรงงาน การเข้าถึงการดูแลและความรู้ด้านสุขภาพ การทำางานในสภาพเสี่ยงอันตราย ไม่จ่าย
                     ค่าแรงงานหรือจ่ายต่ำากว่าอัตราที่กำาหนด มีการยึดหนังสือเดินทาง ใบอนุญาตทำางาน เจ้าหน้าที่รัฐ

                     มักมองว่าแรงงานข้ามชาติเป็นภัยต่อชุมชนไทยและอธิปไตยของชาติ จึงทำาให้ปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าว
                     โดยไม่ชอบ รวมถึงบังคับให้สูญหาย ตัวอย่างเช่น เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ โกวินมิน ชาวมอญ ถูก

                     เจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดน (อส.) ยิงที่จุดตรวจ ใกล้ค่ายผู้ลี้ภัย อำาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
                                                                                        ๑๐๘
                     แล้วถูกลากและเตะลงไปบริเวณหน้าผา โดยเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ครอบครัวมารับศพ

                                      ๖.๓)  พยานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ ได้รับ

                     ความรุนแรง เสี่ยงกับการถูกสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย หรือบังคับให้สูญหาย ผู้กระทำาอาจ
                     เป็นเจ้าหน้าที่ที่ละเมิดสิทธิ เพื่อนร่วมงานที่ต้องการช่วยเหลือผู้กระทำาผิดหรือปกป้องหน่วยงานตน

                     เช่น เมื่อปี ๒๕๕๒ ที่จังหวัดนราธิวาส นายอับดุลเลาะห์ อาบูคอรี พยานคดีปล้นปืนเมื่อเดือนมกราคม
                                                                               ๑๐๙
                     พ.ศ. ๒๕๔๗ หายตัวไประหว่างเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวในพื้นที่ภาคใต้

                                      ๖.๔)  ข้อมูลจากนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการเมือง
                     ได้รายงานว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงมักเป็นต้นตอของการข่มขู่และทำาร้ายผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน

                     ผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ ก็อาจข่มขู่บุคคลกลุ่มนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การหายตัวไปของนายทนง
                     โพธิ์อ่าน วุฒิสภาสายแรงงาน (พ.ศ.๒๕๓๔) และทนายสมชาย นีละไพจิตร (พ.ศ.๒๕๔๗) ดังที่กล่าว

                     ไว้แล้ว ๑๑๐


                           ๒.๒.๒  แนวทางอนุวัติกฎหมายภายในของประเทศไทย : การรับฟังความเห็นจาก

                     หน่วยงานของรัฐ นักวิชาการ และภาคประชาชน

                                  คณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อมูลและความเห็นเรื่องการอนุวัติกฎหมายภายใน

                     ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคประชาชน
                     เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ ตามลำาดับ มีสาระสำาคัญโดยสรุป คือ


                                  ๑)  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภ�พ กระทรวงยุติธรรม เห็นควรมีกฎหมายใหม่โดยเฉพาะ
                     เพื่อรองรับการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้
                     สูญหายฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา





                     ๑๐๘  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๓๔.
                     ๑๐๙  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕,
                         หน้า ๓๔ - ๓๕.
                     ๑๑๐  มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
                         หน้า ๓๕ - ๓๖.
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142