Page 133 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 133
131
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ส่วนที่ ๒ การเตรียมรองรับการดำาเนินการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
การคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (International Convention on
the Protection of Persons from Enforced Disappearances: CED)
๒.๑ ความเป็นมา
๒.๑.๑ ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้
บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย (CED) เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ และไทยได้ยอมรับข้อเสนอแนะจาก
กระบวนการ UPR ที่จะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฉบับนี้โดยเร็ว ซึ่งขณะนี้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายภายในก่อนดำาเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญา
ดังกล่าวต่อไป
๒.๑.๒ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย
มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และต่อสู้กับการไม่นำาตัว
ผู้กระทำาผิดดังกล่าวมาลงโทษ โดยให้ถือว่าการกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับเป็น
อาชญากรรมและให้นิยาม “การหายสาบสูญโดยถูกบังคับ” ว่า คือ การจับกุม กักขัง ลักพาตัวหรือ
การกระทำาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม ที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคล หรือ
กลุ่มบุคคลซึ่งดำาเนินการโดยได้รับอนุญาตการสนับสนุนหรือการยอมรับโดยปริยายของรัฐ ตามมาด้วย
การปฏิเสธที่จะยอมรับว่าได้มีการลิดรอนเสรีภาพ หรือการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลที่
หายสาบสูญ ซึ่งส่งผลให้บุคคลดังกล่าวตกอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย นอกจากนี้
รัฐภาคีต้องดำาเนินมาตรการจำาเป็นเพื่อประกันว่า การหายสาบสูญเป็นความผิดภายใต้กฎหมายอาญา
ของตน การกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับซึ่งดำาเนินการอย่างกว้างขวางหรือเป็นระบบ
ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ตามนิยามภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศถือว่าเป็นอาชญากรรม
ต่อมนุษยชาติ ตามที่นิยามภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้บังคับ และจะต้องนำามาซึ่งผลลัพธ์
๑๐๐
ตามที่กำาหนดภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้บังคับดังกล่าว
๑๐๐ อนุสัญญาระหว่างประเทศ CED อารัมภบท ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๕