Page 135 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 135
133
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ผู้เป็นแนวร่วมกับนายปรีดี พนมยงค์ หายตัวไป ต่อมา ศาลพิพากษาจำาคุกตลอดชีวิตผู้ต้องหาซึ่ง
เป็นตำารวจ ๓ ราย เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๙๗ นายพร มะลิทอง นักการเมืองฝ่ายค้านสมัยรัฐบาล
พลตำารวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ถูกลักพาไป ต่อมาพบศพในแม่น้ำาเจ้าพระยา ในช่วงทศวรรษ ๒๔๙๐
และ ๒๕๐๐ รัฐบาลมีนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ เป็นผลให้มีชาวบ้านถูกจับกุม ควบคุมตัว และ
สังหารอย่างพลการจำานวนมาก ภายหลังการประท้วงทางการเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และพ.ศ. ๒๕๑๙
มีการใช้กองกำาลังของรัฐปราบปรามและสังหารผู้ประท้วง แต่ไม่มีการฟ้องคดีดังกล่าว และไม่มี
การลงโทษผู้รับผิดชอบต่อการสังหารนี้ ช่วงคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ปกครอง
ประเทศเดือนมิถุนายน ๒๕๓๔ นายทนง โพธิ์อ่าน วุฒิสมาชิกสายแรงงานและผู้รณรงค์ต่อต้านการ
พยายามของรัฐในการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ได้หายตัวไป ๑๐๒
๔) ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึงปัจจุบัน “การถูกบังคับให้สูญหาย” ในประเทศไทยเป็นผลจาก
นโยบายของรัฐ ๒ ประการ คือ การต่อต้านการก่อความไม่สงบในภาคใต้ (นับแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔) และ
การปราบปรามยาเสพติด (เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๖) กล่าวคือ ในการปราบปรามการก่อความไม่สงบในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ทุกรัฐบาลใช้นโยบายที่คล้ายกันและมีนโยบายอย่างน้อย ๓ ประการที่ส่งผลให้
เกิดสภาพที่นำาไปสู่การหายตัวของบุคคล ๑๐๓ ดังนี้
๔.๑) กรอบกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ๓ ฉบับ ๑๐๔ ที่ใช้ในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ทำาให้การปราบปรามของรัฐไม่เป็นไปตามหลักการคุ้มครองและหลักนิติธรรม
ข้อกำาหนดว่าด้วยการควบคุมตัวตามกฎหมายดังกล่าวเปิดโอกาสให้เกิดการบังคับบุคคลให้สูญหาย
เช่น กฎอัยการศึกเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวได้ ๗ วัน โดยไม่ต้องมีหมายศาล พระราชกำาหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ สามารถควบคุมตัวได้โดยมีหมายศาล รวม ๓๐ วัน และ
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงฯ รวมกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถ
ควบคุมตัวได้ รวม ๘๔ วัน
๔.๒) การให้ผู้ต้องสงสัยมาแสดงตน เช่น เชิญมาพบ หรือมารายงานตัวที่
ค่ายทหาร โดยแบ่งผู้ต้องสงสัยเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มีสิทธิขอประกันตัวและเข้าถึงทนายความได้ มีการติดตามความเคลื่อนไหวหลังปล่อยตัว
กลุ่มที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ จะถูกบังคับให้เข้าอบรม ๑ เดือน และมีการเฝ้าระวัง
๑๐๒ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๑๒ - ๑๕..
๑๐๓ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, การบังคับบุคคลให้สูญหายในประเทศไทย, พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๑๕ - ๑๘.
๑๐๔ ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑