Page 138 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 138

136   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                               ๒)  กระทรวงก�รต่�งประเทศ เห็นว่าประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่าง

                  ประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหาย จึงอาจเสนอกฎหมายใหม่ในการอนุวัติ
                  กฎหมายภายใน ซึ่งสามารถบรรจุรายละเอียดและกระบวนการตามอนุสัญญาฯ ได้ครบถ้วน

                  การกำาหนดไว้เป็นฐานความผิด ในประมวลกฎหมายอาญาอาจไม่เพียงพอ และอาจไม่สามารถ
                  คุ้มครองบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                               ๓)  น�ยปกป้อง ศรีสนิท ผู้ทรงคุณวุฒิด้�นกฎหม�ยอ�ญ� ให้ความเห็น ดังนี้

                                   ๓.๑)  สาระตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศ
                  ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลมิให้ถูกบังคับให้สูญหายมีความเกี่ยวพันกัน การมอบหมายให้หน่วยงาน

                  เดียวรับผิดชอบภารกิจตามอนุสัญญาทั้งสองฉบับน่าจะเป็นไปได้ โดยเน้นการติดตามและเยียวยา
                  ส่วนการสอบสวนควรร่วมกับตำารวจ หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์

                                   ๓.๒)  การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา เป็นเพียงการเพิ่มฐานความผิดไม่ครอบคลุม

                  ภารกิจตามอนุสัญญาฯ ได้แก่
                                         ๓.๒.๑)  ก�รกำ�หนดคว�มผิด  สำาหรับผู้บังคับบัญชาที่รู้ข้อมูลที่ชี้ชัดว่า

                  ผู้ใต้บังคับบัญชาได้กระทำาผิดหรืออาจกระทำาผิดฐานบังคับให้บุคคลสูญหายแต่ไม่ดำาเนินการยับยั้ง
                  หรือป้องกันการกระทำาดังกล่าว

                                         ๓.๒.๒)  ก�รไม่ส�ม�รถอ้�งสถ�นก�รณ์ฉุกเฉิน  เพื่อความชอบธรรมในการ
                  บังคับให้บุคคลสูญหาย

                                         ๓.๒.๓)  ก�รห้�มคุมขังบุคคลในสถ�นที่ลับ
                                         ๓.๒.๔)  ข้อกำ�หนดเกี่ยวกับก�รรวบรวมและเก็บรักษ�เอกส�รท�งทะเบียน

                  ที่บันทึกเกี่ยวกับผู้ถูกทำาให้สูญหาย
                                         ๓.๒.๕)  ก�รให้ญ�ติหรือทน�ยคว�มส�ม�รถเข้�ถึงข้อมูล เกี่ยวกับผู้ถูกทำาให้

                  สูญหายและสามารถร้องเรียน ซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบข้อกล่าวหาโดยพลันและอย่างเที่ยงธรรม
                                         ๓.๒.๖)  ก�รประกันว่�เหยื่อของก�รบังคับให้สูญห�ยจะได้รับก�รชดใช้

                  ค่�เสียห�ยอย่�งเป็นธรรม เพียงพอโดยพลัน


                        ๒.๒.๓ กรณีศึกษาของต่างประเทศ


                               ๑)  สหพันธ์ส�ธ�รณรัฐเยอรมนี (เข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒)

                                   ๑.๑)  มีคำาแถลงตีความ ๑๑๑   ดังนี้





                  ๑๑๑  UNTC, treaties.un.org/Pages?ViewDetails.aspx?src=TREATY&,tdsg_no=IV-16&chapter
                       =4&lang=en
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143