Page 128 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 128

126   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                                                                             ๙๖
                                   ๓.๓)  รูปแบบที่จัดตั้งหน่วยงานเป็นกลไกป้องกันระดับชาติโดยเฉพาะ  เช่น
                                         ๓.๓.๑)  อาร์เจนตินา จัดตั้งระบบป้องกันระดับชาติ (National System
                  of  Prevention  แบ่งเป็น ๓ ระดับ  คือ  ระดับชาติ  ระดับสภาสหพันธรัฐ  และระดับท้องถิ่น (จัดตั้งขึ้น

                  ใน ๒๔ จังหวัดทั่วประเทศ)
                                         ๓.๓.๒)  ไซปรัส จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการบริหาร (Commissioner for

                  Administration)
                                         ๓.๓.๓)  เดนมาร์ก จัดตั้งคณะกรรมการแห่งรัฐสภาเดนนิชเพื่อบริการกิจการ

                  พลเรือนและทหาร (Danish Parliamentary Commissioner for Civil and Military Administration)
                                         ๓.๓.๔)  เอสโตเนียได้มอบหมายให้สำานักงานเลขานุการงานยุติธรรม

                  (Office of Chancellor of Justice) ทำาหน้าที่เป็นกลไกป้องกันระดับชาติ (NPM)  อย่างไรก็ดี
                  ประชาคมระหว่างประเทศมีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน

                  ดังกล่าว เนื่องจากสำานักงานดังกล่าวไม่ได้เป็นหน่วยงานอิสระ
                                         ๓.๓.๕)  ฝรั่งเศส จัดตั้งผู้ตรวจการสถานคุมขัง (General Inspector of

                  Places of Detention) มีเจ้าหน้าที่ ๔๐ คน ปฏิบัติงานเต็มเวลา ๒๕ คน
                                         ๓.๓.๖)  จอร์เจีย โปแลนด์ และเซอร์เบียจัดตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะ

                  มีเจ้าหน้าที่ ได้แก่ นักปกป้องสาธารณะ (Public Defender) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ๖ คน และ
                  ผู้เชี่ยวชาญอิสระ ๒๕ คน ในประเทศโปแลนด์ เรียกว่า นักปกป้องสาธารณะด้านสิทธิ (Public

                  Defender of Rights)  ส่วนประเทศเซอร์เบีย เรียกว่า นักพิทักษ์พลเรือน (Protector of Citizens)
                                         ๓.๓.๗)  สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน กัวเตมาลา ฮอนดูรัส สวิตเซอร์แลนด์

                  จัดตั้งหน่วยงานระดับชาติเพื่อป้องกันการทรมาน (National Agency for the Prevention of Torture)
                                         ๓.๓.๘)  คีร์กิซ และลิกเตนสไตน์ จัดตั้งศูนย์การติดตามและวิเคราะห์

                  และคณะกรรมการราชทัณฑ์ (Correction Commission)
                                         ๓.๓.๙)  มอลตา เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร จัดตั้งกลไกป้องกัน

                  ระดับชาติมากกว่าหนึ่งแห่ง โดยมอลตาได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ๒ คณะ คือ คณะกรรมการตรวจเยี่ยม
                  เรือนจำาและคณะกรรมการตรวจเยี่ยมสถานคุมขัง เนเธอร์แลนด์มอบหมายองค์กร ๖ แห่ง ทำาหน้าที่

                  เป็นกลไกดังกล่าว รับผิดชอบประสานงานการตรวจเยี่ยมและกำาหนดมาตรการแทรกแซง สหราช-
                  อาณาจักรได้มอบหมายให้องค์กร ๑๘ แห่ง ทำาหน้าที่กลไกป้องกันระดับชาติ

                                   ๓.๔)  ประเทศนิวซีแลนด์ กำาหนดเป็นกฎหมายเฉพาะ ได้แก่ พระราชบัญญัติ

                  อาชญากรรมจากการทรมาน พ.ศ. ๒๕๓๒ แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นนิยามศัพท์ ส่วนที่ ๒






                  ๙๖  สำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สำานักงาน กสม., เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔ - ๙.
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133