Page 127 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 127
125
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒) คว�มคืบหน้�ในก�รพิจ�รณ�เข้�เป็นภ�คีพิธีส�รเลือกรับของอนุสัญญ�ต่อต้�น
ก�รทรม�นฯ (OPCAT) ของประเทศไทย
- เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวง
ยุติธรรม ร่วมกับสมาคมเพื่อป้องกันการทรมาน (Association for the Prevention of Torture : APT)
ได้จัดสัมมนาว่าด้วยเรื่องพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ในการสัมมนาดังกล่าว
หลายฝ่ายเห็นว่า เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรเป็นหน่วยงานในการทำาหน้าที่เป็น
กลไกการป้องกันระดับชาติ (National Preventive Mechanism : NPM) ตามที่กำาหนดไว้ในพิธีสารฯ
๓) กรณีศึกษ�ของต่�งประเทศ
๓.๑) รูปแบบการให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำาหน้าที่เป็นกลไกป้องกัน
ระดับชาติในประเทศต่างๆ มี ๓ รูปแบบ คือ
๓.๑.๑) สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกป้องกันระดับชาติ
องค์กรเดี่ยว เช่น คอสตาริกา มาลี มอริเชียส มัลดีฟส์ แอลเบเนีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน ไซปรัส
สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย และโปแลนด์
๓.๑.๒) สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกป้องกันระดับชาติร่วมกับ
องค์กรภาคประชาสังคม เช่น สโลวีเนีย
๓.๑.๓) สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งใน
๙๔
กลไกป้องกันระดับชาติ เช่น นิวซีแลนด์ และสวีเดน
๓.๒) รูปแบบที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำาหน้าที่กลไกป้องกันระดับชาติ มีดังนี้
๓.๒.๑) มอบหมายผู้ตรวจการแผ่นดิน เช่น แอลเบเนีย (ได้จัดตั้ง Torture
Prevention Unit) อาร์เมเนีย (ได้จัดตั้ง Council on Torture Prevention ซึ่งมีผู้แทนจากภาคประชา
สังคม ร่วมด้วย) ออสเตรีย คอสตาริกา (ได้จัดตั้ง NPM unit) โครเอเชีย เอกวาดอร์ ฮังการี (ยังไม่ได้
ดำาเนินการ) ลักเซมเบิร์ก นิการากัว ไนจีเรีย สเปน (ได้จัดตั้ง Unit)
๓.๒.๒) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินร่วมกับหน่วยงานภาคประชาสังคม เช่น
มาซิโดเนีย
๓.๒.๓) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินและองค์กรอื่น เช่น สวีเดน (อีกองค์กรหนึ่ง
๙๕
คือ Chancellor of Justice)
๙๔ สำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สำานักงาน กสม. เอกสารประกอบการประชุม วาระที่ ๓.๑ เรื่อง พิธีสาร
เลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายี
ศักดิ์ศรี, ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๗/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ หน้า ๓.
๙๕ สำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สำานักงาน กสม. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔ – ๙.