Page 124 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 124
122 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒) ก�รอนุวัติกฎหม�ยภ�ยในให้เป็นไปต�มอนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�นฯ นี้ คณะอนุ-
กรรมการฯ เห็นว่าควรบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ และเป็นไป
ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ แต่หากต้องใช้การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่ออนุวัติตามอนุสัญญานี้ การแก้ไขนั้นต้องครอบคลุม
ทุกประเด็นตามอนุสัญญาฯ และเมื่อมีมูลเหตุเชื่อได้ว่ามีกระทำาทรมานเกิดขึ้นต้องมีระบบตรวจสอบ
และถ่วงดุล โดยให้พนักงานอัยการมีบทบาทหลักในการสืบสวน สอบสวน รวมทั้งมีกฎหมายรองรับว่า
ผู้ถูกทำาร้ายจากการทรมานจะได้รับการชดใช้ทดแทน มีสิทธิบังคับคดีขอค่าสินไหมทดแทน และได้รับ
การบำาบัดฟื้นฟู
๓) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม ควรให้ความสำาคัญต่อการคุ้มครองและ
ช่วยเหลือบุคคลจากการถูกกระทำาด้วยการทรมาน รวมทั้งควรให้มีหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องนี้
โดยเฉพาะการจัดทำาข้อเสนอให้มีหน่วยงานดังกล่าวควรอยู่บนฐานการศึกษาวิจัย หลักการด้าน
สิทธิมนุษยชน ประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับโดยเปรียบเทียบกับแนวทางอื่น
๔) ข้อเสนอของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภ�พ และคณะกรรม�ธิก�รก�รกฎหม�ย
ก�รยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภ�ผู้แทนร�ษฎร ซึ่งอนุวัติกฎหมายภายในโดยวิธีแก้ไขประมวล
กฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังไม่ครอบคลุมหลักเกณฑ์ที่กำาหนด
ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เช่น ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
ที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการฯ ไม่ครอบคลุมนิยาม “การทรมาน” ตามข้อ ๑ ของอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ บางประการ และไม่ครอบคลุมการกระทำาอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ
การประติบัติ หรือการลงโทษที่ย่ำายีศักดิ์ศรี ตามข้อ ๑๖ ของอนุสัญญาฯ ส่วนร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
และคณะกรรมาธิการฯไม่ได้รับรองไว้ชัดเจนว่า ผู้ถูกทำาร้ายจากการกระทำาทรมานจะได้รับการชดใช้
ทดแทน ทั้งไม่มีระบบถ่วงดุลโดยพนักงานอัยการ
๕) เนื่องจ�กผู้กระทำ�ผิดฐ�นกระทำ�ทรม�นหรือผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เป็นเจ้�หน้�ที่ตำ�รวจ
จึงเห็นว่า พนักงานอัยการควรเป็นผู้มีอำานาจหน้าที่ในการสืบสวน สอบสวนรวบรวมกลั่นกรองพยาน
หลักฐานต่างๆ และมีดุลพินิจในการดำาเนินการในชั้นไต่สวน กรณีความผิดฐานกระทำาทรมานตาม
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา
๙๐/๑ อันทำาให้การไต่สวนมีการถ่วงดุล เป็นอิสระ และเที่ยงธรรม ทั้งพนักงานอัยการยังรับผิดชอบ
การยื่นคำาร้องดำาเนินการไต่สวนในศาลโดยตรงอีกด้วย
๖) คณะรัฐมนตรีควรทบทวนก�รบังคับใช้กฎหม�ยพิเศษด้�นคว�มมั่นคงให้สอดคล้องกับ
อนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�นฯ ซึ่งกำาหนดว่า ไม่มีพฤติการณ์พิเศษใด ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงคราม หรือ
สภาพคุกคามที่จะเกิดสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ หรือสภาวะฉุกเฉิน
สาธารณะอื่นใดที่ยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลสำาหรับทรมานได้