Page 126 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 126

124    ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                   ๑.๒)  งานวิจัยเรื่อง คุกไทย ๒๕๕๔ โดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน  (สสส.) ๙๑
                                                                                            ๙๒
                  พบว่านักโทษชายและผู้ต้องขังหญิงระหว่างอยู่ในเรือนจำาหรือสถานคุมขังกรณีตัวอย่าง  ได้รับ
                  การปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทั้งตามหลักสากลและกฎหมายภายใน

                  ของประเทศไทย ดังนี้
                                         ๑.๒.๑)  ด้�นสภ�พก�ยภ�พ พบว่า เรือนจำาและสถานคุมขังตามงานวิจัยฯ

                  มีสภาพแออัดโดยเฉพาะเรือนนอน มีห้องน้ำาในเรือนนอนไม่เพียงพอ ขณะที่นักโทษชายและผู้ต้องขัง
                  หญิงต้องใช้เวลาในเรือนนอนเป็นเวลานาน (๑๖.๓๐ - ๐๖.๐๐ น.) นักโทษและผู้ต้องขังหญิงสามารถ

                  เข้าถึงและได้รับอาหารและเครื่องใช้ แต่ยังมีความแตกต่างกันระหว่างผู้มีเงินและไม่มีเงิน นอกจากนี้
                  พบว่า ผู้ต้องขังหญิงสามารถเข้าถึงการอาบน้ำาได้จำากัด

                                         ๑.๒.๒)  ด้�นก�รติดต่อกับภ�ยนอกและก�รเข้�เยี่ยม พบว่า เรือนจำาและ
                  สถานคุมขังในงานวิจัยฯ จัดให้นักโทษชายและผู้ต้องขังหญิงติดต่อกับภายนอกได้ เช่น ทางจดหมาย

                  หรือจัดสถานที่และช่วงเวลาให้พบญาติ  โดยเรือนจำาบางขวางอนุญาตให้นักโทษชายพบญาติได้
                  สัปดาห์ละ ๒ วัน ๔๕ นาที/ครั้ง ซึ่งใกล้เคียงกับมาตรการที่กำาหนดในกฎหมายในประเทศ  ขณะที่

                  ผู้ต้องขังหญิงถูกจำากัดมากกว่า เช่น ไม่อาจเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการส่ง - รับจดหมายของตนได้
                                         ๑.๒.๓)  ด้�นบริก�รท�งก�รแพทย์ พบว่า เรือนจำาและสถานคุมขังใน

                  งานวิจัยฯ มีแพทย์ไม่เพียงพอต่อการให้การรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง และไม่มีแพทย์ด้านจิตเวช ขณะที่
                  มีความต้องการรับการปรึกษาและเยียวยาด้านจิตจำานวนมาก รวมทั้งไม่มีมาตรการใดเพื่อให้ความ

                  ช่วยเหลือดังกล่าว

                                   ๑.๓)  งานศึกษาเรื่อง การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กในสถาน
                                                                              ๙๓
                  กักตัวคนต่างด้าว สำานักงานตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู กรุงเทพฯ   พบว่า เด็กถูกแยกจาก
                  บิดามารดาซึ่งกำาหนดให้แยกผู้ต้องกักชายและหญิง ต้องอยู่ร่วมกับผู้ต้องกักที่เป็นผู้ใหญ่ ห้องกักมี
                  สภาพแออัดและไม่ถูกสุขลักษณะ ทำาให้เด็กหลายคนเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ

                  มีภาวะทุพโภชนาการ มีระบบรับตัวผู้ต้องกักเด็กและผู้ใหญ่ไม่แตกต่างกัน ทำาให้เด็กถูกทำาทะเบียน
                  ประวัติอาชญากร เด็กในสถานกักตัวฯ ไม่อาจเข้าถึงการศึกษา ไม่ได้รับการดูแลสวัสดิการตาม

                  มาตรฐาน ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยเมื่อผลักดันเด็กกลับประเทศภูมิลำาเนา








                  ๙๑  การสัมมนาเรื่องคุกไทย จัดโดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)  เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
                       ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                  ๙๒  เรือนจำากลางบางขวาง และทัณฑสถานหญิงกลางกรุงเทพฯ และเชียงราย

                  ๙๓  สุรพงษ์  กองจันทึก และคณะ, การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กในสถานกักตัวคนต่างด้าว
                       สำานักงานตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู, สนับสนุนโดย Save the Children UK, มปป., มปท. หน้า ๓ - ๕.
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131