Page 123 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 123
121
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๘. .......................
มาตรา ๘๑ รัฐต้องดำาเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
ดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เป็นธรรมและทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
และจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยให้
ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือประชาชนทาง
กฎหมาย
(๒) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ และโดยบุคคลอื่น และต้องอำานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
(๓) .........................
๕) ประมวลกฎหม�ยวิธีพิจ�รณ�คว�มอ�ญ�
มาตรา ๙๐ เมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกคุมขังในคดีอาญาหรือในกรณี
อื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บุคคลเหล่านี้มีสิทธิยื่นคำาร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำานาจพิจารณาคดีอาญา
ขอให้ปล่อย คือ
(๑) .....................................
เมื่อได้รับคำาร้องดั่งนั้น ให้ศาลดำาเนินการไต่สวนฝ่ายเดียวโดยด่วน ถ้าศาลเห็นว่า
คำาร้องนั้นมีมูล ศาลมีอำานาจสั่งผู้คุมขังให้นำาตัวผู้ถูกคุมขังมาศาลโดยพลัน และถ้าผู้คุมขังแสดงให้เป็น
ที่พอใจแก่ศาลไม่ได้ว่า การคุมขังเป็นการชอบด้วยกฎหมาย ให้ศาลสั่งปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังไปทันที
๑.๑.๔ ความเห็นของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ
ปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นต่อการอนุวัติกฎหมายภายในตามอนุสัญญา
ต่อต้านการทรมานฯ ดังนี้
๑) ก�รอนุวัติกฎหม�ยภ�ยในด้วยก�รแก้ไขกฎหม�ยเดิม ควรสำารวจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหมด รวมถึงกฎเกณฑ์ คำาสั่ง วิธีการและแนวปฏิบัติและเสนอแก้ไขเป็นชุดไปพร้อมกัน เพื่อให้
ครอบคลุมรายละเอียดตามอนุสัญญาฯ ได้ครบถ้วน การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีตำารวจเป็น
ผู้บังคับใช้กฎหมาย อาจไม่สามารถบังคับได้จริง หรือไม่อาจอธิบายให้สังคมหายเคลือบแคลงเกี่ยวกับ
การคุ้มครองบุคคลจากถูกกระทำาทรมานและถูกบังคับให้สูญหายได้ เนื่องจากผู้กระทำาผิดส่วนใหญ่
ได้แก่ ตำารวจและพนักงานสอบสวน การที่ให้ตำารวจเป็นผู้สอบสวน จึงไม่มีการตรวจสอบและถ่วงดุล
ในกระบวนการยุติธรรม และไม่อาจคุ้มครองผู้ถูกกระทำาทรมานได้แท้จริง