Page 112 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 112
110 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(๑.๒) วรรคหนึ่ง (๓) ที่กำาหนดให้การกระทำาความผิดฐาน
ทำาร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำารับอันตรายต่อจิตใจในระยะยาวเป็นการกระทำาทรมาน
น่าจะยังไม่สอดคล้องกับนิยามของการทรมานตามข้อ ๑ ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ที่กำาหนด
ว่า ............ การกระทำาใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำาให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส
ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด...
(๑.๓) วรรคสอง ยังไม่ครอบคลุมเจตนาพิเศษตามที่กำาหนด
ไว้ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ โดยยังไม่ครอบคลุมเรื่องการกระทำาทรมานที่เกิดจากการเลือก
ปฏิบัติ และ
(๑.๔) ร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ยังไม่
ครอบคลุมถึงการกระทำาความผิดซึ่งเป็นการกระทำาอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือการประติบัติ หรือ
การลงโทษที่ย่ำายีศักดิ์ศรีที่ไม่ถึงกับเป็นการทรมาน ตามที่บัญญัติไว้ในข้อ ๑๖ แห่งอนุสัญญาฯ
(๒) ข้อความตามมาตรา ๙๐/๑ วรรคสอง ...และศาลอาจมีคำาสั่ง
ให้ผู้กระทำาจัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ถูกกระทำาตามที่เห็นสมควรก็ได้
ในเรื่องนี้ควรกำาหนดเรื่องการชดเชยเยียวยาแก่ผู้เสียหายจากการกระทำาทรมานให้ชัดเจนตามที่บัญญัติ
ไว้ในข้อ ๑๔ ของอนุสัญญาฯ และเอกสาร General comment หมายเลข ๓ ของคณะกรรมการประจำา
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งได้อธิบายแนวปฏิบัติตามข้อ ๑๔ ของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
ไว้ เมื่อปี ๒๕๕๕
๒.๓) ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการในการไต่สวนผู้กระทำา
ความผิดฐานกระทำาทรมาน ตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
สำานักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นตามหนังสือที่ อส ๐๐๔๕.๓/๑๕๗๑๓
ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการเกี่ยวกับการไต่สวนผู้กระทำาผิด
ฐานกระทำาทรมานตามร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา ๙๐/๑ ว่าพนักงานอัยการมีความเหมาะสมที่จะมีบทบาทในการไต่สวน
ผู้กระทำาผิดฐานกระทำาทรมานตามร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจาก
๒.๓.๑) ก�รให้พนักง�นอัยก�รดำ�เนินก�รดังกล่�ว เป็นการปฏิบัติงานคดีที่
ต่อเนื่อง ทำาให้ทราบรายละเอียดของคดีแต่แรกและรับผิดชอบในการได้มาของพยาน ทำาให้เกิดความ
เชื่อมั่นในพยานหลักฐานที่ใช้ในการดำาเนินการยื่นคำาร้องต่อศาลตามวรรคหนึ่ง จะทำาให้ได้ตัวผู้ถูกอ้าง
ว่าถูกกระทำาพร้อมพยานหลักฐานมาศาลเพื่อไต่สวนโดยเร็ว
๒.๓.๒) พนักง�นอัยก�รทร�บข้อเท็จจริงและข้อมูลพย�นหลักฐ�นแต่แรก
แล้ว ทำาให้ง่ายในการวินิจฉัยคดีและเข้าช่วยเหลือตัวบุคคลผู้ถูกอ้างว่าถูกกระทำา พร้อมทั้งนำาพยาน
หลักฐานมาพิสูจน์ในศาลได้