Page 117 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 117
115
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟิลิปปินส์ กระทรวง
ยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กร
ภาคีภาครัฐและภาคเอกชนให้ความรู้และข่าวสารว่าด้วยการป้องกันการทรมาน
- ทบทวนกฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการ
ทรมานฯ
๓.๕) ประเทศนิวซีแลนด์ (เข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒)
นิวซีแลนด์ได้อนุวัติกฎหมายโดยการบัญญัติกฎหมายเฉพาะ ได้แก่ พระราชบัญญัติอาชญากรรมจาก
การทรมาน พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙) เพื่อให้สอดคล้องตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และพิธีสาร
เลือกรับของอนุสัญญาฯ โดยมีสาระสำาคัญ คือ
๓.๕.๑) ส่วนที่ ๑ นิย�มศัพท์ เช่น การทรมาน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในข่าย
๘๕
ซึ่งสอดคล้องตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
๓.๕.๒) ส่วนที่ ๒ ก�รฟ้องคดีในคว�มผิดฐ�นทรม�น อธิบายถึงการกระทำา
ที่เป็นการทรมาน อาณาเขตที่อยู่ภายใต้เขตอำานาจรัฐ การพิจารณาค่าชดเชยให้แก่ผู้เสียหายซึ่งดำาเนิน
การโดยสำานักงานอัยการ การแก้ไขกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พระราชบัญญัติ
ผู้กระทำาผิดที่หลบหนีออกนอกประเทศ การฟ้องคดีซึ่งต้องเป็นไปตามการยินยอมของสำานักงาน
อัยการ ๘๖
๓.๕.๓) ส่วนที่ ๓ ก�รป้องกันก�รกระทำ�ทรม�น มีเจตนารมณ์เพื่อให้สอดคล้อง
ตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ๘๗
๑.๑.๓ หลักการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๑) ปฏิญญ�ส�กลว่�ด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ ๕ บุคคลใดจะถูกกระทำาการทรมานหรือการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำายีศักดิ์ศรีไม่ได้
ข้อ ๖ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย
ข้อ ๘ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลที่มีอำานาจแห่งรัฐ
ต่อการกระทำาอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
๘๕ Crimes of Torture Act 1989, No. 2
๘๖ Crimes of Torture Act 1989, No. 3 - 5, 8 และ 12
๘๗ Crimes of Torture Act 1989, No. 16, 26, 27, 31 และ 32