Page 109 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 109

107
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                                   (๑)  แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มนิยามคำาว่า
                                ๖๙
                     “การทรมาน”  และ “ความผิดฐานกระทำาทรมาน” และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
                     ความอาญา กำาหนดให้ผู้ถูกกระทำาด้วยการทรมานสามารถยื่นคำาร้องต่อศาลเพื่อให้ระงับ เพิกถอน

                     การกระทำานั้น และมีสิทธิยื่นคำาร้องขอการเยียวยาความเสียหาย
                                                   (๒)  แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มคำานิยาม

                     การทรมานและความผิดฐานกระทำาทรมาน และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
                     และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยเพิ่มความผิดฐานกระทำาทรมาน

                     เพื่อให้ผู้เสียหายจากความผิดฐานนี้ขอรับค่าตอบแทนได้ โดยไม่ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายวิธี
                     พิจารณาความอาญา

                                            ๒.๑.๒)  กระทรวงก�รต่�งประเทศ เห็นควรเร่งรัดการแก้ไขเพิ่มเติม
                     ประมวลกฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ การไม่มีนิยามและฐาน

                     ความผิดว่าด้วยการกระทำาทรมาน ทำาให้เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การส่งผู้ร้าย
                     ข้ามแดน

                                            ๒.๑.๓)  สำ�นักง�นคณะกรรมก�รปฏิรูปกฎหม�ย เห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติม
                     ประมวลกฎหมายอาญาโดยเพิ่มนิยามคำาว่า ทรมาน และความผิดฐานทรมาน นั้นไม่เพียงพอ ควรมี

                     การทบทวนและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีกลไกป้องกันการทรมานอื่นด้วย เช่น
                     การเยียวยา การป้องกันการเกิดซ้ำา การคุ้มครองพยาน การพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

                     การคำานึงถึงสิทธิของผู้ถูกกระทำาทรมาน
                                            ๒.๑.๔)  น�ยกุลพล พลวัน ผู้ทรงคุณวุฒิด้�นกฎหม�ย ให้ความเห็นเป็น

                     ลายลักษณ์อักษรว่า ประเทศไทยจำาเป็นต้องแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้าน
                     การทรมานฯ ซึ่งสามารถทำาได้ ๒ วิธี คือ





                     ๖๙  ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้
                         เป็น (๑๖) ของมาตรา ๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

                         “(๑๖) “การทรมาน” หมายความว่า การกระทำาใดโดยมีเจตนาให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมาน
                         อย่างร้ายแรงไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจต่อบุคคลใด  ซึ่งกระทำาโดยเจ้าพนักงานหรือด้วยการยุยงหรือโดย
                         ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงาน หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจาก
                         ทางราชการ เพื่อความประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้
                            ๑.  ให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำาสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม

                            ๒.  ลงโทษบุคคลนั้นสำาหรับการกระทำาที่บุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามได้กระทำาหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำา
                            ๓.   ข่มขู่ให้กลัวหรือบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม
                            ๔.  กระทำาการด้วยประการใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติ

                         ทั้งนี้ ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจากหรืออันเป็นผลปกติจากหรืออันสืบเนื่องมาจาก
                         การลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย”
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114