Page 115 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 115
113
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ญี่ปุ่นได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมคนเข้าเมืองและ
ผู้ลี้ภัย (Immigration Control and Refugee Recognition Act) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่พระราชบัญญัติ
ดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมหลักการไม่ผลักดันกลับ (Non-Refoulement) และไม่มีหน่วยงานอิสระทบทวน
คำาวินิจฉัยการเนรเทศบุคคลของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
๓.๓) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๓๓)
๓.๓.๑) กฎหม�ยภ�ยในและม�ตรก�รต�มอนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�นฯ
- ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐ ซึ่งห้ามการทำาร้าย
ร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่ยังไม่ครอบคลุมการทรมานทางจิตใจ ยังไม่ชัดเจน
๗๗
เกี่ยวกับการห้ามอ้างคำาสั่งของผู้บังคับบัญชาเพื่อกระทำาทรมาน นอกจากนี้ ในชั้นสืบสวนสอบสวน
๗๘
มีพนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานตำารวจดำาเนินการแทน ซึ่งเป็น
เจ้าหน้าที่ตำารวจคนละท้องที่กับเจ้าหน้าที่ตำารวจที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิด ๗๙
๓.๓.๒) แนวท�งอนุวัติกฎหม�ยและปรับปรุงม�ตรก�ร
- เยอรมนีได้ตราพระราชบัญญัติการปราบปรามอาชญากรรม
(Act on the Suppression of Crime) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยเพิ่มโทษผู้กระทำาความผิดให้สูงขึ้น
- ปรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐ ให้สอดคล้อง
กับกฎหมายฉบับดังกล่าว เป็นโทษจำาคุกตั้งแต่ ๓ เดือนถึง ๕ ปี หากไม่ร้ายแรง มีโทษปรับจนถึงจำาคุก
ไม่เกิน ๓ ปี ๘๐
๓.๔) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (เข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙)
แนวทางอนุวัติกฎหมายตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ โดยการบัญญัติกฎหมายขึ้นโดยเฉพาะ
เรียกว่า พระราชบัญญัติต่อต้านการทรมาน ค.ศ. ๒๐๐๙ (พ.ศ. ๒๕๕๒) (Anti – Torture Act 2009)
๗๗ Concluding Observations of the Committee against Torture: Germany. 11/05/1998, ดูได้ที่ http://
www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/ (Symbol)/A.53.44,paras.179-195.En?OpenDocument
๗๘ ดร.สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ขั้นตอนการดำาเนินคดีอาญาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมัน,
วารสารดุลพาห, เล่ม ๑ ปีที่ ๕๕ (มกราคม - เมษายน ๒๕๕๑), หน้า ๑๙๐. ดูได้ที่ http://elib.coj.go.th/Article/
d55_1_9.pdf และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของเยอรมัน มาตรา ๑๕๒ วรรคสอง และมาตรา
๑๖๐ วรรคหนึ่ง
๗๙ รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ฉบับที่ ๒ ของเยอรมนี ที่เสนอต่อคณะกรรมการประจำา
อนุสัญญาฯ เมื่อปี ๒๕๔๑ (เอกสารสหประชาชาติที่ CAT/C/29/Add.2), ข้อ ๘, หน้า ๑๓ และรายงานฯ ฉบับที่
๓ และ ๔ ที่เสนอต่อคณะกรรมการประจำาอนุสัญญาฯ เมื่อปี ๒๕๔๗ (เอกสารสหประชาชาติที่ CAT/C/DEU/5)
ข้อ ๑๓๘ หน้า ๒๔.
๘๐ รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ฉบับที่ ๒ ของเยอรมนีที่เสนอต่อคณะกรรมการประจำา
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เมื่อปี ๒๕๔๑ (เอกสารสหประชาชาติที่ CAT/C/29/Add.2), หน้า ๔.