Page 110 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 110
108 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา หรือ
(๒) ยกร่างกฎหมายใหม่ ในชั้นนี้หากพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็จะทำาให้ไม่ต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่
และงบประมาณเนื่องจากรัฐมีกลไกด้านนี้อยู่แล้ว
๒.๑.๕) ผู้แทนมูลนิธิผส�นวัฒนธรรม (ภ�คประช�สังคม) เห็นว่าควรมี
พระราชบัญญัติป้องกันการทรมานขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะ แยกเป็นพระราชบัญญัติต่างหาก โดย
ให้มีคณะกรรมการป้องกันการทรมาน ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐและผู้ทรงคุณวุฒิ สำานักงาน
คณะกรรมการป้องกันการทรมานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถป้องกัน
และยุติการทรมานได้
๒.๒) ข้อมูลความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
อาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน
สภาผู้แทนราษฎร)
เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวง
ยุติธรรม ร่วมกับคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
จัดประชุมรับฟังความเห็นจากหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา โดยให้เพิ่มเติมฐานความผิดว่าด้วยการกระทำาทรมานและบทลงโทษ และร่าง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้มีมาตรการเยียวยา
ความเสียหายแก่ผู้ถูกกระทำาทรมาน ดังนี้
๒.๒.๑) ร่�งพระร�ชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหม�ยอ�ญ� (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ม�ตร� ๔ ให้เพิ่มเติมความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๖๖/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา “มาตรา
๑๖๖/๑ ผู้ใดเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ พนักงานสอบสวน เจ้าพนักงาน ซึ่งกฎหมายให้มี
อำานาจและหน้าที่สืบสวน ควบคุม ขัง หรือกักตัว กระทำาการ หรือไม่กระทำาการอย่างใดๆ ดังต่อไปนี้
ในตำาแหน่ง
(๑) กระทำาความผิดฐานข่มขืนกระทำาชำาเราตามมาตรา ๒๗๖
(๒) กระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกายตามมาตรา ๒๙๗
(๓) กระทำาความผิดฐานกระทำาความผิดฐานทำาร้ายร่างกาย
จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำารับอันตรายต่อจิตใจในระยะยาว
ถ้าการกระทำานั้นได้กระทำาโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ
(๑) ให้ได้มาซึ่งถ้อยคำา หรือคำารับสารภาพของผู้ถูกกระทำานั้นเอง
หรือของผู้อื่น