Page 106 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 106

104   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                   ๒.๑)  การทำาให้เกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอย่างสาหัสทางกายหรือจิตใจ

                                   ๒.๒)  โดยมีเจตนาพิเศษ คือ

                                         ๒.๒.๑)  มุ่งประสงค์ให้ได้ซึ่งข้อสนเทศหรือคำาสารภาพจากผู้นั้นหรือบุคคล
                  ที่สาม หรือ

                                         ๒.๒.๒)  ลงโทษบุคคลนั้น สำาหรับการกระทำาซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม
                  กระทำาหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำา หรือ

                                         ๒.๒.๓)  เป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคล
                  ที่สาม หรือ

                                         ๒.๒.๔)  เพราะเหตุผลใดบนพื้นฐานการเลือกปฏิบัติไม่ว่ารูปแบบใด

                                   ๒.๓) กระทำาโดย หรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของ

                  เจ้าพนักงานของรัฐ หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งทางการ

                               ๓)  ข้อเสนอแนะจ�กกระบวนก�ร Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรี

                  สิทธิมนุษยชนแห่งสหประช�ช�ติ (HRC) สมัยที่ ๑๙ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ต่อประเทศไทย และ
                  ข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งประเทศไทยได้รับมาดำาเนินการ คือ

                  การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ รวมถึงการบัญญัติให้การทรมานเป็นความ
                  ผิดอาญา หรือเพิ่มนิยามของการทรมานในประมวลกฎหมายอาญา และการสอบสวนและดำาเนินคดี

                  เจ้าหน้าที่ตำารวจและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อแก้ปัญหา
                  การลอยนวลของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำาผิด

                               ๔)  เมื่อพิจ�รณ�กฎหม�ยภ�ยในของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น ประมวลกฎหมาย
                  อาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า ยังไม่ปรากฏนิยาม

                  คำาว่า “ทรมาน” ที่สอดคล้องตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ รวมทั้งมีกฎหมายภายในบางฉบับ
                                          ๖๓
                  เช่น กฎหมายด้านความมั่นคง  ที่อาจขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ จึงควรได้มีการศึกษา

                  เพื่อทบทวน ปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว






                       บุคคลนั้น หรือจากบุคคลที่สาม  การลงโทษบุคคลนั้น สำาหรับการกระทำา ซึ่งบุคคลนั้น หรือบุคคลที่สามกระทำา
                       หรือถูกสงสัยว่าได้กระทำา หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัว หรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้น หรือบุคคลที่สาม
                       หรือเพราะเหตุผลใดๆ บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นรูปใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์
                       ทรมานนั้น กระทำาโดยหรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของ
                       บุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรือ
                       อันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย อนุ ๒ .......................................
                  ๖๓  พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
                       และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111