Page 104 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 104

102   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  ดำาเนินการศึกษาแนวทาง การอนุวัติกฎหมายภายในเพื่อรองรับการดำาเนินการตามอนุสัญญาดังกล่าว

                  รวมทั้งพิจารณาว่า ควรมีกลไกการดำาเนินงานที่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวหรือไม่
                  อย่างไร




                  ๒.  อำานาจหน้าที่

                       บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๕)
                  และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) กำาหนดให้

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่ “เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
                  กฎหมาย และกฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน”

                       เมื่อพิจารณาพันธกรณีของประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ
                  เจตนารมณ์ของไทยที่จะเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับแห่งอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และอนุสัญญา

                  ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายในอนาคต และข้อผูกพันต่อ
                  ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน

                  แห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council : HRC) ซึ่งประเทศไทยได้รับมาปฏิบัติ ตลอดจนเห็น
                  ว่ากฎหมายภายในของประเทศไทยยังไม่สอดคล้องกับพันธกรณีในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ

                  และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายที่ประเทศไทยได้
                  ลงนามแล้วและจะให้สัตยาบันในอนาคต  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเห็นควร

                  ศึกษากฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องและจัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุง
                  กฎหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว

                  รวมถึงเพื่อเตรียมการสำาหรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้
                  บุคคลถูกบังคับให้สูญหายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109