Page 98 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 98

๘๔







                  เช่นกัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีร่องน้ําลึกซึ่งเป็นที่ชอบอาศัยอยู่ของปลาทู รวมทั้งทรัพยากรสัตว์น้ําอื่น ๆ
                  ไม่ว่าจะเป็นปลาต่าง ๆ ปลาหมึก และกุ้งทําให้มีชาวประมงไม่น้อยกว่า ๔๘ หมู่บ้าน ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กับ

                  ชายฝั่งทะเล และอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทะเลและประมงเป็นแหล่งประกอบอาชีพ ดังที่

                  นายปิยะ แย้มเทศ ตัวแทนเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พูดถึงสิทธิของ
                  ชาวประมงพื้นบ้านในความมีชีวิตอยู่และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไว้ว่า “เราชาวประมง

                  รักในอาชีพของเรา เพราะอาชีพเป็นค่ารักษาพยาบาลยามเราเจ็บป่วย อาชีพเป็นค่าเล่าเรียนลูก อาชีพ

                  เป็นค่ารถ และอาชีพเป็นทุกอย่างของชีวิต ถ้าสูญเสียอาชีพ ก็สูญเสียชีวิต สูญเสียชุมชน”  ข้อกังวลหลัก
                  ของชาวบ้าน ก็คือ หากว่าฐานทรัพยากรทะเลและประมงที่มีความอุดมสมบูรณ์ต้องเสื่อมโทรมลง ระบบ

                  และวิถีชีวิตของชุมชนประมงทั้งหมดก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ย่ําแย่ลงด้วย นอกจากนี้ชาวบ้านยัง

                  มีข้อกังวลอีกประการหนึ่งก็คือ กระบวนการผลิตของโรงงานและกระบวนการขนส่งที่เกี่ยวข้องจะ
                  ก่อให้เกิดมลพิษในด้านต่าง ๆ ทั้ง อากาศ น้ํา ของเสีย เสียงดัง ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

                  ของชาวบ้านในชุมชนโดยรอบเช่นกัน ทั้งนี้ชาวบ้านเองก็ได้มีประสบการณ์โดยตรงจากโรงงานของบริษัท

                  สหวิริยา ที่ได้ตั้งอยู่ก่อนแล้วว่าก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทั้งฝุ่นละออง ควันดํา จากปล่องโรงงาน และ
                  ปรากฏการณ์ฝนสีเหลือง (น้ําฝนที่ตกลงมาเกาะกับสิ่งของแล้วจะเป็นเม็ดสีเหลือง) การปล่อยน้ําเสียลง

                  คลองแม่รําพึงทําให้ปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงในกระชังตาย แต่ประเด็นเหล่านี้กลับไม่ได้รับการพิจารณาจริงจัง

                  จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด ทําให้ประชาชนมีความเสี่ยงภัยที่จะสูญเสียสิทธิในมาตรฐาน
                  การครองชีพ ความมีชีวิตอยู่ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป


                                ๓)  สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

                             โครงการพัฒนาที่เข้ามาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในระยะแรก คือ โรงไฟฟ้าถ่านหิน

                  ซึ่งขณะนั้นคนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์รู้แต่ว่าจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมาสร้างสามโรง ไม่รู้เรื่องเลย
                  ว่าจะมีโครงการพัฒนาชุดใหญ่ตามมาทั้งท่าเรือน้ําลึก นิคมอุตสาหกรรมเหล็ก และก็แทบจะไม่รู้เรื่อง

                  เกี่ยวกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกเลย อีกทั้งการที่เครือบริษัทสหวิริยา ได้มีการยื่นเอกสาร

                  ต่อการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อดําเนินการขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพาน
                  ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐  ชาวบ้านและชุมชนก็ไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารใด ๆ เลย ชาวบ้านพึ่งมารับรู้เรื่อง

                  ดังกล่าวหลังจากนั้น ๕ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เนื่องจากชาวบ้านได้ข่าวว่ามีการนัดประชุมเพื่อพูดคุย

                  ปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพานที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งในจังหวัด
                  ประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านจึงได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้มีการ

                  ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว และจากการที่ชาวบ้านได้เข้าร่วมประชุมตรวจสอบข้อเท็จจริงของ

                  คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ชาวบ้านถึงได้รู้ว่าบริษัทได้มีการดําเนินโครงการดังกล่าวมาแล้วตั้งแต่ปี
                  พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยบริษัทได้ยื่นเอกสารขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็กบางสะพาน และได้แนบ
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103